แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 2
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 (2) เพื่อศึกษาดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ประชากรได้แก่ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 2,023 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI modified) ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันของการพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ ทั้งโดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นการพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 เรียงจากมากไปหาน้อยคือ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือด้าน ภาวะผู้นำร่วม และ ด้านวิสัยทัศนร่วมตามลำดับ แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 ได้แก่ 1) เสริมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม 2) ส่งเสริมภาวะผู้นำร่วม 3) เสริมสร้างทีมรวมพลัง 4) สร้างชุมชนกัลยาณมิตร 5) สร้างวัฒนธรรมองค์กรสมัยใหม่ และ 6) พัฒนาสู่มืออาชีพ
References
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนามาใช้ในสถานศึกษา. นนทบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พงษ์ศักดิ์ สาลีกงชัย และ ศศิรดา แพงไทย (2562) การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(8), 4133-4148. ตุลาคม.
พิเชษฐ์ เกษวงษ์. (2556). การนำเสนอแนวทางการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุทธยา).
พินิจ มีคำทอง และ สุบัน มุขธระโกษา. (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12(2), 149-160.
วทัญญู ภูครองนา. (2557). ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สดศรี - สฤษดิ์วงศ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาย วิชากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษา. นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การพัฒนามาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). ชุมชนแห่งการเรียนรู้” สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
Boyd, V. (1992). School Context, Bridge or Barrier to Change?. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory.
Gardner H. (1983). Frames of Mind: the Theory Multiple Intelligence. New York: Basic Books.
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Austin: Southwest Education Development Laboratory.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.