การเปรียบเทียบต้นทุนของการขนส่งและกระจายโลหิต ระหว่างรถพยาบาลและอากาศยานไร้คนขับ

ผู้แต่ง

  • กิตติคุณ ปานเอม นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ณัฏฐณิชา ฉายรัศมี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

รถพยาบาล, อากาศยานไร้คนขับ, โลหิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนของการขนส่งและกระจายโลหิตโดยรถพยาบาลเปรียบเทียบกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของภาคบริการโลหิตที่ 10 สภากาชาดไทย พื้นที่รับผิดชอบของภาคบริการโลหิตที่ 10 สภากาชาดไทย ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง และ ลำพูน ทั้งหมด 24 โรงพยาบาลโดยแบ่งกลุ่มตามเกณฑ์ระยะเวลาการเดินทางจากภาคบริการโลหิตที่ 10 เชียงใหม่ ทำการวิเคราะห์ในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยใช้วิธีการต้นทุน-ผลตอบแทน (Cost-Effectiveness Analysis :CEA) ศึกษาการให้บริการของรถพยาบาลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยวิเคราะห์ต้นทุนต่อเที่ยวของการให้บริการเปรียบเทียบกับต้นทุนต่อเที่ยวของอากาศยานไร้คนขับ ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนของการขนส่งและกระจายโลหิตโดยรถพยาบาล กลุ่มโรงพยาบาลระยะใกล้มีต้นทุนต่อเที่ยวเฉลี่ย 641.76 บาท โรงพยาบาลที่ตั้งในระยะกลางมีต้นทุนเฉลี่ย11,226.07 บาท และในระยะไกลมีต้นทุนเฉลี่ย 22,208.91 บาท โดยจำแนกเป็นต้นทุนค่าเสื่อมราคาเฉลี่ยร้อยละ 61.70 ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยร้อยละ 23.62 ต้นทุนค่าซ่อมบำรุงเฉลี่ยร้อยละ 4.58 และ ต้นทุนค่าแรงงานคนขับรถเฉลี่ยร้อยละ 3.74 ในขณะที่ต้นทุนต่อเที่ยวของอากาศยานไร้คนขับมีต้นทุนคงที่เที่ยวละ 805.00 บาท การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนของการขนส่งและกระจายโลหิตโดยรถพยาบาลมีค่าเท่ากับ 13.68 บาทต่อนาที และต้นทุน-ผลตอบแทนของการขนส่งและกระจายโลหิตโดยอากาศยานไร้คนขับมีค่าเท่ากับ 46.98 บาทต่อนาที ซึ่งการศึกษาครั้งนี้นับเป็นการศึกษาเบื้องต้นและเป็นงานชิ้นแรกๆ ที่ใช้แนวคิดเกี่ยวกับต้นทุน-ผลตอบแทนกับการขนส่งและกระจายโลหิตโดยรถพยาบาลเปรียบเทียบกับการใช้อากาศยานไร้คนขับ ผลการศึกษานี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจ ช่วยพัฒนาระบบการขนส่งด้านสาธารณสุข และสามารถช่วยในการหาทางเลือกอื่นในการนำอากาศยานไร้คนขับมาใช้ในการขนส่งและประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนนโยบายสาธารณะที่มีประสิทธิภาพในอนาคต

References

กรมบัญชีกลาง. (2562). คู่มือการบัญชีภาครัฐ เรื่องที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://relink.asia/LvqkD.

ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10. (2564). ข้อมูลสถิติการเบิกจ่ายโลหิต ปี 2017–2021. เชียงใหม่: ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 10.

วันนิวัติ ไกรนรา. (2555). การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการจัดการคุณภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สภากาชาดไทย. (2564). คู่มือการใช้บริการภาคบริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ปี 2564. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย.

สมชาย ปฐมศิริ และ ประภัสสร สุขาบูรณ์. (2554). การวิเคราะห์ออกแบบระบบการขนส่งโลหิตในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล กรณีศึกษาสำหรับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 9(2), 41-50.

Ackerman, E., & Koziol, M. (2019). The blood is here: Zipline's medical delivery drones are changing the game in Rwanda. IEEE Spectrum, 56(5), 24-31.

M. A. Zailani, R. Z. Azma, I. Aniza, A. R. Rahana, M. S. Ismail, I. S. Shahnaz, K. S. Chan, M. Jamaludin & Mahdy, Z. A. (2021). Drone versus ambulance for blood products transportation: an economic evaluation study. BMC health services research, 21, 1-10.

Mhlanga, M. (2021). From A to O-Positive: Blood Delivery Via Drones in Rwanda. Retrieved 2 March 2023. from https://reachalliance.org/wp-content/uploads/2021/03/Zipline-Rwanda-Final-April19.pdf.

Phillips, N., Blauvelt, C., Ziba, M., Sherman, J., Saka, E., Bancroft, E., & Wilcox, A. (2016). Costs associated with the use of unmanned aerial vehicles for transportation of laboratory samples in Malawi. Seattle: VillageReach.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01