สถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นในมิติประชากรศาสตร์และมิติสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • วิภาวี กฤษณะภูติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • ภัทรพร วีระนาคินทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • ดารารัตน์ คำภูแสน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • อนันต์ คำอ่อน โรงพยาบาลชุมแพ ขอนแก่น ประเทศไทย
  • เบญจวรรณ นัยนิตย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สังคมผู้สูงอายุ, สุขภาพของผู้สูงอายุ, สถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้สังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นในมิติของประชากรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นในมิติประชากรศาสตร์และมิติสุขภาพ ทั้งนี้มิติประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศและเขตการปกครอง และมิติสุขภาพ ได้แก่ โรคที่เป็นปัญหาสำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ กลุ่มโรคผู้สูงอายุ (Geriatric Syndromes) และการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุเพื่อการดูแล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น มีจำนวนทั้งสิ้น 326,053 คน จากประชากรทั้งหมด 1,794,531 คนหรือร้อยละ 18.2 เป็นเพศชาย 178,540 คน (ร้อยละ 10) เป็นเพศหญิง 147,153 คน (ร้อยละ 8.2) อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลจำนวน 95,434 คน (ร้อยละ 5.3) และมีอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาลจำนวน 230,619 คน (ร้อยละ 12.9) สถานการณ์ของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่นในมิติสุขภาพ พบว่า จากการคัดกรอง และประเมินผู้สูงอายุเพื่อหาความเสี่ยงต่อโรคที่เป็นปัญหาและพบบ่อย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 8.9) โรคเบาหวาน (ร้อยละ 11.7) ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (ร้อยละ 50.9) และสุขภาพช่องปาก (ร้อยละ 4.4) กลุ่มโรคผู้สูงอายุ ได้แก่ สมรรถภาพสมอง (ร้อยละ 0.8 มีความผิดปกติเกี่ยวกับสมองเสื่อม AMT) ภาวะซึมเศร้า (ร้อยละ 0.2 มีความผิดปกติเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า) โรคข้อเข่าเสื่อม (ร้อยละ 6.1 มีความผิดปกติที่จะนำไปสู่โรคข้อเข่าเสื่อม) ภาวะหกล้ม (ร้อยละ 6.2 มีความผิดปกติเกี่ยวกับภาวะหกล้ม) ภาวะโภชนาการ (ร้อยละ 5.1 มีภาวะอ้วน) และการประเมินสมรรถนะผู้สูงอายุเพื่อการดูแล พบว่า มีผู้สูงอายุในกลุ่มติดสังคม (ร้อยละ 95.8) กลุ่มติดบ้าน (ร้อยละ 3.7) และกลุ่มติดเตียง (ร้อยละ 0.5)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. สืบค้น 11 สิงหาคม 2566. จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/การประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). ตลาดผู้สูงอายุแนวโน้มเติบโตทะลุ 2 แสนล้านบาท. สืบค้น 11 สิงหาคม 2566. จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/903290.

กลุ่มกฎหมาย กพร.กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). ปัญหาของผู้สูงอายุ. สืบค้น 11 สิงหาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/461.

กลุ่มกฎหมาย กพร.กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ. สืบค้น 10 สิงหาคม 2566. จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/646.

ธนายุส ธนธิติ และ กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 35(3), 57-72.

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เซอร์เรอร์, อุบลพรรณ ธีระศิลป์ และ พีรญา เพชรชัย. (2566). สถานการณ์ชีวิตผู้สูงอายุและ ปัจจัยกำหนดความรุนแรงในผู้สูงอายุ : การสำรวจเชิงปริมาณในพื้นที่ 5 จังหวัด. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(5), 472-490.

ภานุวัฒน์ สิงห์คำป้อง และ อจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2565). การวิเคราะห์คุณค่าผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 7(2), 1–11.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2563). นิยาม: สังคมผู้สูงอายุ. สืบค้น 10 สิงหาคม 2566. จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom12/05-01.html.

ศรีมาศ ณ วิเชียร, คันธรส แสนวงศ์, สาลินี อาจารีย์ และ ยุทธการ อาจารีย์. (2557). การใช้ประโยชน์จากแรงงานสูงอายุในภาคการผลิต. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 24(1), 15-22.

ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ และ จำนงค์ แรกพินิจ (2561). การยังคุณประโยชน์ของผู้สูงอายุในพื้นที่เกาะบริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(3), 143-163.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2564). สถิติเกี่ยวกับหญิงและชาย. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://khonkaen.nso.go.th/images/document/report/56/56-05.pdf.

สำนักงานสถิติจังหวัดขอนแก่น. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://khonkaen.nso.go.th/images/document/report/64/64-1.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2563. จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/elderlyworkFullReport57-1.pdf.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2563). การคัดกรองผู้สูงอายุ 10 เรื่อง จังหวัดขอนแก่น. สืบค้น 11 สิงหาคม 2566. จาก https://kkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=df0700e8e3c79802b208b8780ab64d61.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การเปลี่ยนแปลงและเตรียมตัวเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ. สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2565. จาก http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/prepared/topic001.php.

สุพิชชา เอกระ. (2559). การจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในกลุ่มชุมชนคนจนเมือง กรณีศึกษาชุมชน หมู่บ้านพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 113-124.

แสงดาว จันทร์ดา, วิทยา วาโย, นวลละออง ทองโคตร, สายใจ คำทะเนตร และ แก้วจิต มากปาน. (2563). สุขภาวะผู้สูงอายุตำบลดินดำ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(35), 425–436.

อรสา ธาตวากร. (2552). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในภาวะพฤฒพลังให้เกิดการยังประโยชน์ด้านสังคม. วารสารสังคมภิวัฒน์, 10(3), 39-63.

Noelker, L. S., & Browdie, R. (2014). Sidney Katz, MD: a new paradigm for chronic illness and long-term care. The Gerontologist, 54(1), 13-20.

Scott, J. (1990). A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research. Cambridge, UK: Polity Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01