ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตามตำนานท้องถิ่น ตำนานพระร่วง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • รสสุคนธ์ ประดิษฐ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • ยุวดี พ่วงรอด สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยว, ตำนานพระร่วง, การท่องเที่ยวชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนตามตำนานพระร่วงในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย (2) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตามตำนานพระร่วงในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย และ (3) เพื่อสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนตามตำนานท้องถิ่น ตำนานพระร่วงศรีสัชนาลัย เก็บข้อมูลกับปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 5 คน และผู้นำชุมชนในชุมชนเส้นทางตามตำนานจำนวน 15 คน เลือกโดยเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ตำนานพระร่วงและเส้นทางการท่องเที่ยวตามตำนานพระร่วงประกอบไปด้วยพระธาตุมุเตาที่อยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร แก่งหลวงอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตำนานพระร่วงที่ปรากฎในพื้นที่ตำบลสารจิตรจะเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระร่วงติดตามคนรักคือนางคำไปยังสถานที่ต่างๆ จนปรากฏเป็นการตั้งชื่อสถานที่และตั้งชื่อหมู่บ้านตามตำนานที่ประกอบไปด้วย นาสามมุม สะพานหนองขาม บ้านแสนตอ บ้านสามหลุม ถ้ำนางคำ หนองจระเข้ บ้านคุก และบ้านสารจิตร ศักยภาพและโอกาสในการพัฒนา ตำนานท้องถิ่นตำนานพระร่วงปรากฎหลักฐานเชื่อมโยงที่สามารถค้นพบได้จริงและมีความน่าสนใจซึ่งกระจายไปตามจุดต่างๆ ของชุมชนหากมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจะทำให้เกิดการกระจายรายได้และเกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน และสามารถเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวตามตำนานพระร่วงได้จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1) ตำนานพระร่วงศรีสัชนาลัยเชื่อมโยงกับตำนานพระร่วงเมืองสุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) ตำนานพระร่วงศรีสัชนาลัยเชื่อมโยงกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และ 3) ตำนานพระร่วงศรีสัชนาลัยเชื่อมโยงกับตำนานพระร่วงเมืองนครชุม อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาขาดการเก็บรวบรวมเป็นองค์ความรู้ตำนานท้องถิ่นอย่างเป็นระบบและขาดการบูรณาการในการพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันระหว่างชุมชนในเส้นทางตามตำนาน

References

ดินาร์ บุญธรรม. (2555). ตำนานพระร่วง. สืบค้น 9 กันยายน 2566. จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/.

พิฑูรย์ ทองฉิม, นิศาชล สกุลชาญณรงค์, อรุณพร อธิมาตรไมตรี และ วิมล งามยิ่งยวด (2565). รูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง เพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวของจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 ประจำปี 2565. (น.2676 – 2678). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มณรดา ศิลปบรรเลง, ภารดี มหาขันธ์ และ เยาวลักษณ์ แสงจันทร์. (2562). คติความเชื่อเรื่องพระร่วงในสังคมไทย: บทบาทและการดำรงอยู่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(54), 298-319.

มณรดา ศิลปบรรเลง. (2560). เรื่องเล่าพระร่วงตำบลสารจิตร – พระร่วงตำบลนครชุม : การศึกษาเปรียบเทียบ. ใน การสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ครั้งที่ 16 ประจำปี 2560. (น. 791–795). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสุโขทัย. (2566). สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย. สืบค้น 9 กันยายน 2566. จาก https://www.sukhothailocal.go.th/.

อุษา กล้าวิจารณ์. (2560). แนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชีย อาคเนย์, 1(2), 70-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01