ระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร กรณีศึกษา สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, สหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้าบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 230 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจิตใจ มีระดับคุณภาพชีวิตมากที่สุด รองลงมา ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านร่างกาย และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเศรษฐกิจ อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด ในภาพรวม พบว่า ปัจจัยทำนายทั้งหมดในการศึกษาครั้งนี้สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด ในภาพรวม ร้อยละ 67.20 ปัจจัยทำนายที่ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด ได้อย่างมีนับสำคัญที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานสหกรณ์ ผลตอบแทนที่สมาชิกได้รับจากสหกรณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย สหกรณ์ควรมีมาตรการในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตสมาชิกสหกรณ์ที่มีอายุ 71 ปี ขึ้นไป ระยะเวลาการเป็นสมาชิก 10 ปีขึ้นไปให้ดีขึ้น ได้แก่ การตรวจสุขภาพประจำปี การจัดอบรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต การสร้างอาชีพสร้างรายได้ การจัดสวัสดิการสำหรับสมาชิกอาวุโส
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2553). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553). สืบค้น 8 กันยายน 2566. จาก https://www.dop.go.th/download/laws/regulation_th_20152509163042_1.pdf.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). สารสนเทศสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. จาก https://itc.office.cpd.go.th/?view=article&id=254:information-coop-2565&catid=34:cooperative-2565.
กัญญ์พัสวี กล่อมธงเจริญ. (2560). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 12(1), 59-90.
ธนบดี พัสนา. (2563). คุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนทุเรียนในเขตพื้นที่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตร์เพ็ชร์ และ ญาดา นภาอารักษ์. (2563). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507.
ปณิธี ชมภูศรี, จุฑาทิพย์ เฉลิมผล, รุจ ศิริสัญลักษณ์ และ จุฑามาศ โชติบาง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารแก่นเกษตร, 48(1), 421-428.
ปิติณัฐ เครือจินา, ศิรส ทองเชื้อ และ ดุสิต อธินุวัฒน์. (2563). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกที่ 1 ในประเทศไทย กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ. Thai Journal of Science and Technology, 10(3), 300-314.
ปิ่นสะอาด สหนาวิน. (2553). คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร. (ปรัชญาดุษฎีบันฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
วิษณุ อรรถวานิช. (2565). มรสุมเกษตรไทยปี 65 ยิ่งปลูกมากยิ่งจนหนัก. สืบค้น 9 มิถุนายน 2565. จาก https://www.thairath.co.th/news/local/2385867.
สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด. (2565). รายงานกิจการสหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด. สุพรรณบุรี: สหกรณ์การเกษตรบางปลาม้า จำกัด.
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
United Nations Development. (2010). Human Development Reports 2010. Retrieved 12 June 2022. from http://hdr.undp.org/en/.
World Health Organization. (2010). WHOQOL: Measuring Quality of Life. Retrieved 12 June 2022. from https://www.who.int/tools/whoqol/whoqol-bref/docs/default-source/publishing-policies/whoqol-bref/thai-whoqol-brefidentity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.