การวิเคราะห์การลงทุนในการติดตั้งโซล่าเซลล์ของฟาร์มกุ้งขาวแวนนาไม

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา ทองบุญโท นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กุลภา กุลดิลก ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศันสนีย์ หวังวรลักษณ์ ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การลงทุนทางการเงิน, กุ้งขาว, โซล่าเซลล์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะฟาร์ม ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยง และการบริหารจัดการพลังงานภายในฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว และ (2) วิเคราะห์ส่วนเพิ่มของการลงทุนทางการเงินของการใช้โซล่าเซลล์จำแนกตามขนาดฟาร์ม มีการเก็บข้อมูลเชิงลึกจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวที่มีการติดตั้งโซล่าเซลล์ รวมถึงเจ้าหน้าที่กรมประมง และผู้จำหน่ายและติดตั้งโซล่าเซลล์ให้กับฟาร์มกุ้ง จำนวนรวม 5 ราย และแบบสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาว จำนวน 150 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน และการลงทุนทางการเงิน ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะฟาร์มเลี้ยงกุ้งขาว เป็นดังนี้ เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในฟาร์มขนาดเล็กมีขนาดบ่อเฉลี่ย 3.14 ไร่ ฟาร์มขนาดกลางมีขนาดบ่อเฉลี่ย 4.07 ไร่ และขนาดใหญ่มีขนาดบ่อเฉลี่ย 5.48 ไร่ มีรอบการเลี้ยง 2 – 3 รอบต่อปี ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงกุ้งขาวแบบหนาแน่น มีมาตรฐานฟาร์มเลี้ยง GAP กรมประมง และมีการใช้พลังงานเพื่อช่วยในการจัดการการเลี้ยง โดยส่วนใหญ่มาจากการเปิดเครื่องตีน้ำ เครื่องให้อากาศ และระบบให้แสงสว่างในฟาร์ม เป็นต้น ซึ่งใช้แหล่งพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก รองลงมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และเมื่อวิเคราะห์ส่วนเพิ่มของการลงทุนทางการเงินจากการใช้โซล่าเซลล์จำแนกตามขนาดฟาร์ม พบว่าฟาร์มขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 1,100.00 2,200.00 และ 4,400.00 วัตต์ มีมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิ เท่ากับ 34,878.34 114,837.41 และ 260,315.20 มีค่าอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 1.63 2.58 และ 2.96 มีอัตราผลตอบแทนภายใน เท่ากับร้อยละ 9 17 และ 19 และมีระยะเวลาคืนทุนคิดลด ในปีที่ 7.95 5.2 และ 4.95 ตามลำดับ

References

กรมประมง. (2555). สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเล ประจำปี 2553 (เอกสารฉบับที่ 9). กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง.

กรมประมง. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงกุ้งขาวปี 2561. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www.fisheries.go.th/strategy.

กรมประมง. (2564). “กุ้งขาวสิชล 1”. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www4.fisheries.go.th/dof/news_local/113/98461.

กรมประมง. (2565). กรมประมง...ขยายระยะเวลารับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลเข้าร่วมโครงการ "คชก.64" รอบสุดท้ายถึง 31 ธันวาคม 2565. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www4.fisheries.go.th/dof/news_local/1210/143032.

กรมประมง. (2565). สถิติผลผลิตการเลี้ยงกุ้งทะเล ประจำปี 2564 (เอกสารฉบับที่ 11). กรุงเทพฯ: กลุ่มสถิติการประมง กองนโยบายและแผนพัฒนาการประมง กรมประมง.

กระทรวงพลังงาน. (2565). เปอร์เซ็นต์การใช้พลังงานทดแทน. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://www.eppo.go.th.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2565). วิกฤติพลังงานพ่นพิษทั่วโลกไม่เว้นแม้ไทยถึงเวลาเอาจริงกับการประหยัดพลังงาน. สืบค้น 12 มีนาคม 2567. จาก https://www.egat.co.th/home/20221104-art01/.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2564). การวิเคราะห์โครงการลงทุน (PROJECT INVESTMENT ANALYSIS). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชนม์รัศมิ์ เพียรพรเจริญ, กุลภา กุลดิลก และ อภิชาติ ดะลุณเพธย์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการการตัดสินใจเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 41-56.

ซิน เมย์ ทัน และ สร้อยดาว วินิจนันทรัตน์. (2564). การประเมินการปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมของฟาร์มกุ้งแบบหนาแน่นชายฝั่งแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(6), 404-414.

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2566). ประกาศธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ 2342/2566 ตารางอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก. สืบค้น 28 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.baac.or.th/file-upload-manual/rate/2566/deposit_rate24112566.pdf.

พัชรินทร์ อินทมาส, อดิศร ไกรนรา, ทิฆัมพร เขมวงศ์ และ พรหมพักตร์ บุญรักษา. (2565). การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องเติมอากาศในน้ำด้วยกังหันพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมผ่านโทรศัพท์มือถือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 4(1), 43-53.

พิพัฒน์ เลิศโกวิทย์ และ บัณฑิต อินทรีย์มีศักดิ์. (2564). ออกแบบและสร้างเครื่องเติมอากาศกังหันตีน้ำพลังงานแสงอาทิตย์. SAU Journal of Science & Technology, 7(2), 27-42.

อภิวัฒน์ เฟื่องถี่, ปัญญา หมั่นเก็บ และ สุณีพร สุวรรณมณีพงศ์. (2562). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจรถรับจ้างดำนาในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 37(3), 559-569.

เอื้อ สิริจินดา. (2557). เศรษฐศาสตร์เกษตรเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

แฮปปี้ฟาร์ม. (2566). ใบพัดตีน้ำโซลาร์เซลล์-นากุ้ง แฮปปี้ฟาร์ม พรทวี-ไฮบริด 1. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566. จาก http://www.happyfarm.co.th.

MGR Online. (2566). คนเลี้ยงกุ้งกระบี่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ภายในฟาร์ม แก้ปัญหาค่าไฟแพง. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566. จาก https://mgronline.com/south/detail/9660000085318.

Sarmiento-Carrillo, J., Torres, J. E., & Torres, M. A. (2021). Proposal of an electric technical model for the improvement of efficiency and environmental sustainability in shrimp production. In CIRED 2021-The 26th International Conference and Exhibition on Electricity Distribution (pp. 2334-2338). London: IET.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29