หนี้ครัวเรือนกับตัวแปรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละช่วงของวัฏจักรธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี พรไทย นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธนารักษ์ เหล่าสุทธิ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

หนี้ครัวเรือน, วัฏจักรธุรกิจ, ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของหนี้ครัวเรือนกับตัวแปรทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในแต่ละช่วงของวัฏจักรธุรกิจ โดยรวบรวมข้อมูลเศรษฐกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และทำการหาจุดเปลี่ยนในโครงสร้างของวัฏจักรธุรกิจด้วยวิธีการทดสอบ Chow Test ซึ่งสามารถแบ่งช่วงของวัฏจักรธุรกิจออกเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวและขยายตัว และนำข้อมูลในแต่ละช่วงไปทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว (Cointegration) ด้วยวิธีการแบบสองขั้น Eagle and Granger (Engle – Granger Two-Step) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลของตัวแปรตามแนวคิดของ Granger (Granger Causality) ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า หนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การลงทุนรวม ดัชนีราคาที่อยู่อาศัย และดัชนีตลาดหุ้น โดยในช่วงที่ 1 (ไตรมาสที่ 1 ปี 2546 – ไตรมาสที่ 3 ปี 2551) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว พบว่าหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และในช่วงที่ 2 (ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 - ไตรมาสที่ 1 ปี 2563) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว พบว่าหนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ปริมาณเงินฝาก และการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล สำหรับช่วงที่ 3 (ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 - ไตรมาสที่ 2 ปี 2566) ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว พบว่า หนี้ครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ การลงทุนรวม อัตราการว่างงาน และดัชนีราคาที่อยู่อาศัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2558). ทำความรู้จักหนี้ครัวเรือน. สืบค้น 18 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Highlights/ASEANCommunity/BankersTalk/Vol3Issue1.pdf.

เบญจมาศ สุขสันติรัตน์. (2559). ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคต่อหนี้สาธารณะของประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. (2554). วิธีการทางเศรษฐมิติและตัวแบบเศรษฐศาสตร์สำหรับข้อมูลอนุกรมเวลา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิฐาน รังคกูลนุวัฒน์. (2556). การวิเคราะห์อนุกรมเวลาสำหรับเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ Time Series Analysis for Economics and Business. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สาวิณี สุริยันรัตกร. (2560). บทบาทของหนี้ครัวเรือนต่อการบริโภคในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(1), 161-172.

Abel, A. B., & Bernanke, B. S. (2001). Macroeconomic. (4th ed.). Boston: Addison Wesley Longman.

Meng, X., Hoang, N. T., & Siriwardana, M. (2013). The determinants of Australian household debt: A macro level study. Journal of Asian Economics, 29, 80-90.

Moroke, N. D. (2014). Household debts-and macroeconomic factors nexus in the United States: A cointegration and vector error correction approach. Journal of Economics and Behavioral Studies, 6(6), 452-465.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28