ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวตามวัฎจักรชีวิตของครัวเรือน

ผู้แต่ง

  • ภัทรนันท์ สงวนวัฒนารักษ์ นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัว, วัฎจักรชีวิตของครัวเรือน, หนี้ครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการก่อหนี้เกินตัวตามวัฎจักรชีวิตของครัวเรือน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยอาศัยข้อมูลจากโครงการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2564 เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างวัฎจักรชีวิตของครัวเรือนกับพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวผ่านแบบจำลองโลจีสติก (Logistic Model) ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรด้านวัฎจักรชีวิตของครัวเรือนได้แก่ ช่วงที่ครอบครัวแตกแยกและเลี้ยงลูกลำพัง ช่วงที่ลูกโต ช่วงมีลูก ช่วงวัยกลางคนและไม่มีลูก ช่วงที่ลูกแยกออกไปตั้งครอบครัวใหม่ และช่วงแต่งงานมีครอบครัวมีโอกาสในการก่อหนี้เกินตัวมากกว่าช่วงหนุ่มสาวโสดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้านระดับการศึกษา ครัวเรือนประกอบอาชีพนายจ้าง ทำธุรกิจส่วนตัว พนักงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ความเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย การเล่นการพนัน การครอบครองรถยนต์ มีโอกาสในการก่อหนี้เกินตัวในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้ามตัวแปรรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่สูงขึ้นกลับช่วยลดโอกาสที่ครัวเรือนจะก่อหนี้เกินตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และรัฐบาลควรสนับสนุนและส่งเสริมเรื่องการศึกษา เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง รวมถึงควรมีมาตรการดูแลครัวเรือนที่มีบุตรอย่างเข้มงวดควบคู่ไปกับมาตรการผ่อนชำระหนี้ให้เหมาะสม เพื่อให้ครัวเรือนสามารถชำระหนี้ได้ และไม่ย้อนกลับมาเป็นหนี้เกินตัวในระบบเศรษฐกิจอีก

References

กรวิการ์ สายเครือคำ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ของครัวเรือนในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ฉวีวรรณ กาบขาว. (2561). ปัจจัยกำหนดความเป็นไปได้ในการก่อหนี้ภาคครัวเรือน. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน. สืบค้น 30 มีนาคม 2565. จาก https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Publications/DobLib_Loan/ConsultationPaperRL_Directive.pdf.

เบญจภัทร เย็นเพชร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวของข้าราชการครู. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ลลิดา บุดดา. (2559). หนี้ภาคครัวเรือนกับวัฏจักรธุรกิจไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ลักษณ์นารา พิสิฐพิพัฒนา. (2561). การควบคุมตนเองและพฤติกรรมการก่อหนี้เกินตัวของกลุ่มคน Generation Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุระชัย เชื้อลิ้นฟ้า. (2550). พฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือนก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Baek, E., & Hong, G. S. (2004). Effects of family life-cycle stages on consumer debts. Journal of Family and Economic Issues, 25(3), 359-385.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28