ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอด

ผู้แต่ง

  • ญาณิศา จิรชีวพงศ์ นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอด, อาหารประเภททอด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอด และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบจำลองโลจิต ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 18-24 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพอิสระ/ค้าขาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยพิจารณาลงทุนในด้านความนิยมของตราสินค้ามากที่สุด และให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านลักษณะทางกายภาพมากที่สุด ผลการศึกษาจากแบบจำลองโลจิต พบว่า ปัจจัยด้านอาชีพในกลุ่มอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจมีโอกาสในการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอดลดลงร้อยละ 18.8 เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพนักเรียน/นักศึกษา และกลุ่มที่ประกอบอาชีพอื่นๆ มีโอกาสในการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอดลดลงร้อยละ 58.4 เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือทำให้ โอกาสในการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ทำให้โอกาสในการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอดลดลงร้อยละ 13.3 และปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพทำให้โอกาสในการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทของทอดเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05

References

ณรัชช์อร สิรวิชญ์ชัยเดช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มแฟรน ไชส์สัญชาติไทยของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์. (2566). ข้อมูลสถิติธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย. สืบค้น 8 เมษายน 2566. จาก https://www.thaifranchisecenter.com/stats/index_fc_thai.php.

ธัชพงษ์ อภิรักษ์นันท์ชัย. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของผู้บริโภคที่สนใจจะเป็นผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

นคร เสรีรักษ์ และ ภรณี ดีราษฎร์วิเศษ. (2561). วิจัยไม่ใช่เรื่องยาก. กรุงเทพฯ: ฟ้าฮ่าม.

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม. (2566). บสย. รับนโยบายรัฐ ส่ง “SMEs Small Biz” ค้ำรายย่อย 1,200 ล้านบาท หนุนอาชีพอิสระ ค้าออนไลน์ แท็กซี่ พี่วิน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้น 9 เมษายน 2566. จาก https://www.tcg.or.th/news_inside.php?news_id=6711.

ศศิพิมพ์ พ่วงสุขี. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทอาหารในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Kristandy, S. K. & L. Aldianto. (2015). Factors that Influence Student’s Decision in Starting-Up Service Franchise Business in Bandung. Social and Behavioral Sciences, 169(6), 318-328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28