ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จิตรสินี มากทอง เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธีรศักดิ์ ทรัพย์วโรบล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารความเสี่ยง, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, กรอบแนวคิดของการบริหารความเสี่ยงตาม COSO ERM 2017

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามกรอบแนวคิดของ COSO 2017 โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) จากการเก็บแบบสอบถามจำนวน 250 ตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานโดยใช้ แบบจำลองถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Model) และแบบจำลองโลจิต (Logit Model) ผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดีขององค์กรในภาพรวม พบว่า จากการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ทุกปัจจัยตามกรอบแนวคิดของ COSO 2017 ได้แก่ การกำกับดูแลและวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ขององค์กร การจัดการความเสี่ยง การทบทวนและการปรับปรุง และข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ แต่หากวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโลจิต (Logit Model) พบว่า มีเพียงการทบทวนและการปรับปรุง และข้อมูล การสื่อสาร และการรายงานผล ที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565) แผนวิสาหกิจการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566 -2570 สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565.จาก https://www.ieat.go.th/th/strategic-plan-enterprise-plan.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). กางสถิติ SET Index ใช้เวลานานเท่าไหร่? กว่าจะฟื้นจากวิกฤต. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/82-investhow-setindex-rebound.

ธัญญ์ ธรรมสุคติ. (2556). นโยบายการบริหารความเสี่ยงกับสัมฤทธิ์ผลของการบริหารความเสี่ยง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

ธีรพร เนาว์รุ่งโรจน์. (2554). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จที่นำไปสู่ความสำเร็จของระบบการบริหารความเสี่ยงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.). (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.)

ภูรพัศ ลิ้มธรรมมหิศร. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงที่ดี ตามแนวคิด COSO ERM 2017: กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2565). 25 ปี วิกฤติต้มยำกุ้ง...ไทยเข้มแข็งขึ้น เศรษฐกิจวันนี้ ไม่ย้อนรอยอดีต สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Tom-Yum-FB-08-07-2022.aspx.

สภาเศรษฐกิจโลก. (2565) The Global Risk Report. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.weforum.org/reports/global-risks-report-2022.

สิริรัตน์ เกวียนเจริญกุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาอุบลราชธานี).

Committee of Sponsoring Organizations of Treadway Commission. (2017). Enterprise Risk Management Integrating with Strategy and Performance. สืบค้น 10 สิงหาคม 2565. จาก https://www.coso.org/guidance-erm.

Na Ranong, P., & Phuenngam, W. (2009). Critical success factors for effective risk management procedures in financial industries: A study from the perspectives of the financial institutions in Thailand. (Master of Business Administration, Umeå University).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28