การใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหารงานของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร

ผู้แต่ง

  • นภานันท์ ศรีชัยชนะ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์) สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ภาควิชาสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ณคุณ ธรณีนิติญาณ ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ข้อมูลงบการเงิน, การบริหารงาน, สหกรณ์การเกษตร, ฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินที่ใช้ในการบริหารงานของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร และ (2) เพื่อศึกษาข้อจำกัดจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินของฝ่ายบริหารสหกรณ์การเกษตร การวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตร จำนวน 349 ราย เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่ มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหาร ทั้งด้านการวางแผน การควบคุม การสั่งการและการตัดสินใจ โดยรวมการใช้ประโยชน์อยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเฉพาะด้าน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงิน เพื่อการบริหารงาน ด้านการควบคุมมากที่สุดสำหรับบริหารจัดการในธุรกิจด้านจัดหาสินค้ามาจำหน่าย และด้านสินเชื่อ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินเพื่อการบริหารงาน ด้านการตัดสินใจและสั่งการมากที่สุดสำหรับบริหารจัดการในธุรกิจด้านสินเชื่อ ผู้บริหารสหกรณ์การเกษตรส่วนใหญ่มีปัญหาหรือข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินตามลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินที่มีประโยชน์ ประกอบด้วยด้านการแสดงข้อมูลครบถ้วน การแสดงข้อมูลด้วยความเป็นกลาง การแสดงข้อมูลปราศจากข้อผิดพลาด การแสดงข้อมูลสามารถเปรียบเทียบได้ การแสดงข้อมูลสามารถยืนยันได้ การแสดงข้อมูลทันเวลา และการแสดงข้อมูลสามารถเข้าใจได้ ซึ่งมีระดับของปัญหาหรือข้อจำกัดโดยรวมอยู่ในระดับน้อย

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2550). คู่มือระบบบัญชีสหกรณ์การเกษตร. สืบค้น 26 มิถุนายน 2566. จาก https://www.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=35047.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทุกประเภท. สืบค้น 26 มิถุนายน 2566. จาก https://www.cad.go.th/download/cad_recordinfo2022/dec_2022.htm.

ณัชชา อาแล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชีและคุณภาพงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. (บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปวริศา คล้ายคลึง. (2562). การใช้ประโยชน์ของข้อมูลในรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

พัชรี พระสงฆ์, เฉลิมเกียรติ ร่างเล็ก และ อรัญญา จินาชาญ. (2565). การใช้ประโยชน์จากรายงานทางการเงินต่อความสามารถในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 39-55.

วิบูลย์ จารุวงศ์วณิชย์. (2548). การจัดการทางการเงินสำหรับ SMEs. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.

วิลเลียม เจ.สตีเวนสัน. (2554). การจัดการ การดำเนินงาน (มนตรี จังธนสมบัติ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมป์. (2564). คู่มืออธิบายกรอบแนวคิดสาหรับการรายงานทางการเงิน(ฉบับปรับปรุงใหม่). สืบค้น 26 มิถุนายน 2566. จาก https://acpro-std.tfac.or.th/standard/22/คู่มืออธิบายมาตรฐานการรายงานทางการเงิน.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติการใช้ที่ดิน จำแนกเป็นรายภาค และจังหวัด พ.ศ.2555 - 2564. สืบค้น 26 มิถุนายน 2566. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx.

เอนจีน เอฟ. บริกแฮม และ โจเอล เอฟ. ฮูสตัน. (2544). การจัดการการเงิน (การจัดการการเงิน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28