การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ประมง โดยใช้แบบจำลอง Data Envelopment Analysis (DEA)

ผู้แต่ง

  • ตุลาการ ไชยาคำ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศศิภา พจน์วาที สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพทางเทคนิค, ดีอีเอ, สหกรณ์ประมง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามตัวแบบ Constant Return to Scale ประสิทธิภาพตามตัวแบบ Variable Return to Scale และประสิทธิภาพทางด้านขนาด Scale Efficiency โดยใช้แบบจำลอง DEA และ (2) เพื่อปรับปรุงและประเมินขอบเขตของปัจจัยนำเข้าและปัจจัยผลได้ของผลการดำเนินงานให้เกิดประโยขน์สูงสุดแก่สหกรณ์ประมง โดยการศึกษานี้วัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ประมงทั้งสี่ภูมิภาค จำนวน 55 สหกรณ์ ได้แก่ ภาคเหนือ จำนวน 3 สหกรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 สหกรณ์ ภาคกลาง จำนวน 31 สหกรณ์ และ ภาคใต้ จำนวน 10 สหกรณ์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2565 ในการศึกษานี้พิจารณาข้อมูลปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เงินรับฝาก และ ทุนเรือนหุ้น และข้อมูลปัจจัยผลผลิต ได้แก่ กำไรและจำนวนสมาชิก ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์ประมงภาคใต้มีประสิทธิภาพทางเทคนิคสูงกว่าภูมิภาคอื่น เมื่อวิเคราะห์ตามตัวแบบผลตอบแทนแบบคงที่ และ ผลตอบแทนแบบแปรผัน คิดเป็นร้อยละ 50 และ 60 ของจำนวนสหกรณ์ตามลำดับ ในทางตรงกันข้าม สหกรณ์ประมงภาคกลางมีค่าประสิทธิภาพทางเทคนิคต่ำที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.25 และ 38.70 ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นการศึกษานี้พบว่ามีสหกรณ์ประมง จำนวน 20 สหกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพด้านขนาด คิดเป็นร้อยละ 35.71 ของกลุ่มตัวอย่าง ทั้งนี้สหกรณ์ประมงของประเทศไทยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคได้โดยการปรับปรุงปัจจัยนำเข้า

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). ความรู้ทางการเงินสหกรณ์ทุกประเภท. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/information59/all59.pdf.

จารึก สิงหปรีชา และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2550). การวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 31-45.

ธรรมวรรธ วงศ์เจริญยศ, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และ วราพร ดำรงกูลสมบัติ. (2565). การพัฒนาตนเองของบุคลากรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 5(3), 256-266.

สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2555). ความรู้สหกรณ์. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://cai.ku.ac.th/aboutco-op.html.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2547). โปรแกรม DEAP 2.1 สำหรับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วยวิธีการ Data Envelopment Analysis. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Charnes, A., Cooper, W. W., & Rhodes, E. (1978). Measuring the efficiency of decision making units. European journal of operational research, 2(6), 429-444.

Coelli, T. J., Rao, D. S. P., O'Donnell, C. J., & Battese, G. E. (2005). An introduction to efficiency and productivity analysis. New York: Springer Science & Business Media.

Farrell, M. J. (1957). The measurement of productive efficiency. Journal of the Royal Statistical Society: Series A (General), 120(3), 253-290.

Taraka, K., Latif, I., & Shamsudin, M. N. (2010). A nonparametric approach to evaluate technical efficiency of rice farms in Central Thailand. Southeast Asian Journal of Economics, 22(1), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28