ซอฟท์สกิล (Soft Skills) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นันทวัน มุขสาร นิสิตปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ซอฟท์สกิล, นักทรัพยากรบุคคล, ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยด้านซอฟท์สกิล (Soft Skills) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 312 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 30-39 ปี มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอายุงาน 1-5 ปี และปัจจัยด้านซอฟท์สกิล (Soft skills) ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของ นักทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ด้านการจัดระเบียบอารมณ์ ของตนเอง ด้านการตระหนักรู้ในอารมณ์ของตนเอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านทักษะทางสังคม ด้านการจูงใจตนเอง

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ประวัติกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.moph.go.th/index.php/about/history.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). วิสัยทัศน์และพันธกิจกระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.moph.go.th/assets/images/vision.jpg.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2561). ทฤษฎีองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พละกริท คอนซัลแทนท์. (2566). Soft Skills คืออะไร?. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.palagrit.com/what-is-soft-skills/.

พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับประสิทธิภาพการทำงานและความสำเร็จ ในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(1), 1-13.

ภารดี ชาวนรินทร์. (2564). ซอฟท์สกิล : ทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 9(1), 1-17.

มนตรี อินตา. (2562). Soft Skills: ทักษะที่จำเป็นสู่ความเป็นมืออาชีพของครูยุคใหม่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 20(1), 1-15.

วรรณรัตน์ ชุมภูศรี. (2563). ทักษะทางด้านอารมณ์ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท Eggdigital. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สกล บุญสิน. (2562). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). อำนาจหน้าที่. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2566. จาก https://ops.moph.go.th/public/index.php/aboutus/authority_and_function.

สุรชัย บุรพานนทชัย. (2563). ทักษะทางสังคม คุณธรรม และจริยธรรมที่จำเป็นและสำคัญต่อการปฏิบัติงานของคนประจำเรือ (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.

Goleman, D. (1998). Working with Emotional Intelligence. New York: Bantan Books.

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2d ed.). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28