ภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง

ผู้แต่ง

  • จุฑารัตน์ นิรันดร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย
  • พรหมพิริยะ พนาสนธิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย
  • ประพจน์ แย้มทิม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง (2) ศึกษาระดับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วยครูในกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง จำนวน 772 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970) และสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก (2) ทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21ของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มมัธยมศึกษาจังหวัดอ่างทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กนกพร มาอ้วน. (2564). การบริหารการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานอย่างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการนาเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14. (น. 1257-1261). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กมล คล้ำมณี, พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์ และ มิตภาณี พุ่มกล่อม. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 64-76.

กรรณิกา กันทำ. (2561). ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 12(2), 18-29.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21”. (น. 301-313). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสู่ชีวิตใหม่ ด้านงานวิจัยทางสุขภาพและการบริการ, 12(8), 407-416.

พัชราภรณ์ จันทพล. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอองครักษ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พิทยา ดาคม, พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส และ พระฮอนด้า วาทสทฺโท. (2565). ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. Journal of Modern Learning Development, 7(6), 223-235.

เพ็ญนภา พลับฉิม. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม).

เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).

ภารดี ชาวนรินทร์, สมฤดี กีรตวนิชเสถียร, มยุรี กมลบุตร และ ปราชญา ศุภฤกษ์โยธิน. (2565). ซอล์ฟสกิล : ทักษะที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพพยาบาล. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 9(1), 1-17.

วราพร บุญมี. (2563). องค์ประกอบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

วิไลวรรณ พ่อค้าช้าง และ รัตนา กาญจนพันธุ์. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(5), 14-28.

วุฒิพงษ์ ศรีจันทร์, จำนง แจ่มจันทรวงษ์ และ วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2561). ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(2), 124–139.

สัตตบุษย์ โพธิรุท. (2564). ทักษะการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สุวัฒน์ กู้เกียรติกาญจน์ และวิชิต แสงสว่าง. (2564). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 68-80.

เสาวภาพันธ์ ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อดุลย์พร ชุ่มชวย และ ธีระพงศ์ บุศรากูล. (2562). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. ศึกษาศาสตร์ มมร, 7(2), 175-186.

อติกาญจน์ ศรีสังข์. (2564). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

อมรรัตน์ ไทรเมือง. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการกับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา).

Hallinger, P., & Murphy, J. (1985). Assessing the instructional management behavior of principal. The Elementary School Journal, 86(2), 221-224.

Irfan, Bashir. & Usman, Khalil. (2017). Instructional Leadership at University Level in Pakistan: A Multi Variable Based Comparative Study of Leadership Styles of Heads of Academic Departments. Bulletin of Education and Research, 39(1), 175-186.

Jensen, M. C., & Murphy, K. J. (1990). Performance pay and top-management incentives. Journal of political economy, 98(2), 225-264.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Krug, R.E. (1992). Leadership and performance beyond expectations. New York: Free Press.

McEwan, E.K. (1998). Seven step to Effective Instructional Leadership. Thousand Oaks: Corwin Press.

Ubben, G. C & Hughes, L. W. (1987). The principal : Creative Leadership for Effective Schools. Boston: Allyn and Bacon.

Van Deventer, I & Kruger, A.G. (2003). An Educator’s guide to school management skills. Pretoria: Van Schaik.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28