เปลี่ยนขยะเป็นบุญสู่แปลงบุญเป็นทุน : การจัดการขยะชุมชนวิถีพุทธ

ผู้แต่ง

  • พระคมสัน เจริญวงค์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • เอนก ใยอินทร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ปริญญา นิกรกุล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ขยะบุญ, การจัดการขยะชุมชนวิถีพุทธ, การมีส่วนร่วมด้วยพลังบวร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการขับเคลื่อนรูปแบบการปรับเปลี่ยนมายาคติความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญของคนไทยด้วยปัจจัยเงินทองและสิ่งของมีค่า โดยวิธีการทำบุญด้วยขยะประเภทรีไซเคิล เช่น ขวดพลาสติก กล่องกระดาษ เศษเหล็ก กระป๋องอะลูมิเนียม ฯลฯ ซึ่งเป็นขยะแห้งประเภทรีไซเคิลสามารถคัดแยกได้ง่าย โดยการขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้แนวความคิด คือ “เปลี่ยนขยะเป็นบุญสู่การแปลงบุญเป็นทุน” ใช้รูปแบบและกระบวนการจัดการขยะชุมชนวิถีพุทธ ตามหลักพลังบวร คือ บ้าน วัด หน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทิ้งขยะให้เป็นระบบจากคัดแยกต้นทางภายในครัวเรือน และปรับมายาคติความเชื่อให้ขยะสามารถนำไปทำบุญ สร้างบุญด้วยขยะ ให้ทานด้วยขยะเป็นบุญอย่างยิ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการปรับตัวของคนในชุมชน เพื่อจัดการขยะชุมชนให้เกิดความยั่งยืนภายในชุมชนต่อไป

References

ข่าวออนไลน์ LINE TODAY. (2561). ทำบุญเยอะๆ ล้างบาปได้หรือ?. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2566. จาก https://today.line.me/th/v2/article/7XBE6J.

เฉลิมชาติ แสไพศาล. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).

ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2566). ผญา คติสอนใจ. สืบค้น 5 กรกฎาคม 2566. http://www.isan.clubs.chula.ac.th/.

เทียมจิตร พ่วงสมจิตร์. (2564). นัยความหมายของบุญในพระพุทธศาสนาและปรากฏการณ์ทางสังคม. วารสารไทยคดีศึกษา, 18(2), 1-39.

ประวิทย์ พุ่มพา. (2558). พฤติกรรมของผู้บริโภคตามมุมมองแนวโน้มการตลาด. สักทอง : วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(1), 15-26.

พระอธิการโสภณ ปิยธมฺโม (กิ่งแก้ว), ละเอียด จงกลนี และ พระฮอนด้า วาทสทฺโท (เข็มมา). (254). พลังบวร : พลังหลักของชุมชนคุณธรรม. วารสารปัญญาปณิธาน, 6(1), 69-80.

เพชรอำไพ มงคลจิรเดช, ศุภรานันท์ ดลโสภณ, สุชาดา กิจเกิดแสง และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 7(1), 586-598.

รัชนีกร ตาเสน และ ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์. (2562). ความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและถวายภัตตาหารของชาวพุทธที่เอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์: กรณีศึกษาในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(4), 80-87.

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์. (2561). การเปลี่ยนแปลงการกระทำทางสังคมจากทัศนะของเวเบอร์บนความท้าทายความสามารถในการบริหารเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม. วารสารปาริชาต, 31(2), 85-104.

Ann M. Simmons. (2016). The world’s trash crisis, and why many Americans are oblivious. Retrieved 23 February 2024. From https://www.latimes.com/world/global-development/la-fg-global-trash-20160422-20160421-snap-htmlstory.html.

Mehta, P. (2011). Analyzing the Problems and Prospects of Solid Waste Management, its Handling and Legal Dimensions in Indian Context. Research Journal of Pharmaceutical, Biological and Chemical Sciences, 2(4), 958-969.

Reece, J., Hanlon, B., & Edwards, R. (2022). Philanthropic investment in equity: cultivating grass roots leaders for the equitable revitalization of marginalized communities. International Journal of Community Well-Being, 5(2), 401-429.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ