การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ดวงพระศุกร์ ศรคุณแก้ว สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ชนะชัย อวนวัง สาขาวิชาภูมิสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคจิ๊กซอว์, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคจิ๊กซอว์  (3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม จำนวน 200 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 40 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านใฝ่เรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบ dependent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค จิ๊กซอว์ เรื่อง สมาชิกที่ดีของชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.98/85.83 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอร์ มีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ อยู่ในระดับ ดี ทุกคน และความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค จิ๊กซอว์ โดยรวมระดับมากที่สุด

References

กนกรัตน์ ธนะชัย, ปริญญา ทองสอน และ สมศิริ สิงห์ลพ (2565) ได้วิจัย เรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง ภูมิศาสตร์ไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 186-196.

ดารารัตน์ วงศ์เรืองศักดิ์, เกศินี ครุณาสวัสดิ์ และ แจ่มจันทร์ ศรีอรุณรัศมี. (2566). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ เทคโนโลยีความจริงเสริมที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และความใฝ่เรียนรู้ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 8(1), 55-68.

รัชนี ทาเหล็ก. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องเส้นขนาน ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วรรณภา ภูแข่งหมอก. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพุทธประวัติ โดยใช้เทคนิคแบบจิกซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการบริหารจัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(7),120-133.

วัฒนา พาผล. (2551). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28