การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS กับวิธีการสอนแบบปกติ
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค, วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS, วิธีการสอนแบบปกติบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีแบบ GPAS และ (2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ GPAS กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบปกติ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิพัฒนศึกษา (นามสมมติ) จังหวัดนครนายก จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนห้องที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่น คือ 0.76 ค่าความยาก ระหว่าง 0.34-0.72 และค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 2.16-7.03 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ GPAS สำหรับนักเรียนกลุ่มทดลอง และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบปกติ สำหรับนักเรียนกลุ่มควบคุม แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนแต่ละกลุ่มมีจำนวน 9 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวมทั้งสิ้น 9 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ GPAS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ GPAS มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยค สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กาญจนา นาคสกุล. (2546). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 1, 244-258.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2553). สอนหลักภาษาไทยอย่างไรไม่น่าเบื่อ ใน ศาสตราจารย์กิตติคุณ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ(บรรณาธิการ), วรรณศิลป์ในดวงใจ ภาษาไทยที่รัก. (น. 384-389). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทวราช มังคะละ. (2565). การพัฒนาความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
บรรจบ พันธุเมธา. (2562). ลักษณะภาษาไทย THA1001. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พงษ์พิรุณ วดีศิริศักดิ์. (2563). การพัฒนาความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ยุวรัตน์ นักทำนา, นารี คูหาเรืองรอง และ เลอลักษณ์ โอทกานนท์. (2563). การจัดกิจกรรมชมรมดนตรีสร้างสรรค์โดยใช้แนวคิด GPAS 5 Steps เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(3), 1-18.
วะรุฬพันธ์ โหม่งมาตย์. (2566). การพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ตามรูปแบบแมโคร (MACRO Model). วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(2), 23-33.
วิมล วิริยาเสถียร, กัญณภัทร หุ่นสุวรรณ และวีระ วงศ์สรรค์. (2566). การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชาภาษาจีน เรื่อง คำศัพท์ชื่อสัตว์ โดยกระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปุรณาวาส. วารสารนิสิตวัง, 25(1), 34-44.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2561). เอกสารการอบรมการจัดการเรียนรู้ GPASS 5 Steps. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
สุมาลี ศรีภู่อ่อน. (2566). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง กราฟของฟังชันกำลังสอง ด้วยวิธีการสอน GPAS Steps 5 ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม. วารสารพุทธปรัชญาวัฒน์, 7(2), 219-230.
อภิสิทธิ์ สางรัมย์. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง GPAS 5 Steps ร่วมกับบอร์ดเกม วิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Bryman, A. (2016). Social Research Methods. (5th ed.). Oxford: Oxford University Press.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education. (8th ed.). London: Routledge.
Creswell, J. W. & Guetterman, T. C. (2019). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. (6th ed.). New York: Pearson Education.
Eggen, P. D. & Kauchak, D. P. (2016). Educational Psychology: Windows on Classrooms. (10th ed.). Essex: Pearson Education.
Robson, C. & McCartan, K. (2016). Real World Research: A Resource for Users of Social Research Methods in Applied Settings. (4th ed.). London: John Wiley & Sons.
Thomas, G. (2017). How to do your research project: a guide for students. (3rd ed.). London: SAGE Publications.
Woolfolk, A., (2018). Educational psychology: global edition. (14th ed.). Essex: Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.