การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลอันส่งผลต่อความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธิติญา ระวะนาวิก สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, หลักธรรมาภิบาล, ความสำเร็จ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลและความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี (2) ความสัมพันธ์ของการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลกับความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี และ (3) หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบล และลูกจ้างประจำ จำนวน 107 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนความสัมพันธ์การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลอันส่งผลต่อความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติ พบว่า ด้านหลักความรับผิดชอบกับด้านการวางแผนและการควบคุมที่ดี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวแปรพยากรณ์การส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลอันส่งผลต่อความสำเร็จการนำนโยบายไปปฏิบัติขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่ โดยทดสอบแล้วพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักคุณธรรม มีอำนาจพยากรณ์เท่ากับ .998, .996, .991, .989, .985 และ .964 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

เกษตรชัย บุญคง, ภมร ขันธะหัตถ์ และ ธนิศร ยืนยง. (2565). บทบาทคณะผู้บริหารและการพัฒนาชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดปทุมธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(9), 411-429.

จตุพร ไกรกิจราษฎร์, ภัทราวดี อ่ำคูณ, ธนวรรณ พงษ์แตง, บุษกร รังษีภโนดร และ โชติ บดีรัฐ. (2563). หลักธรรมาภิบาล : การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 345-358.

ดวงพร วิทยากุล. (2566). ความคิดเห็นต่อการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 42.

ทวี รักสกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 154-166.

ธีรพล กาญจนากาศ, ณฐนนท ทวีสิน, สุนิตดา เทศนิยม และ เชาว์ สวัสดิ์พุทรา. (2566). ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 48.

พรนภา เปี่ยมไชย, เบญจวรรณ ศฤงคาร, อัฐพงษ ธีระคานนท์, และ พรนภา ปุรินทราภิบาล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสำนักกษาปณ์. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 1-12.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม), ธัชชนันท์ อิสรเดช และ สุรพล สุยะพรหม. (2565). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 7(1), 64-80.

พระอรรนพ อคฺคปญฺโญ (ไวยวรณ์), สมเดช นามเกตุ และ พระครูจิรธรรมธัช. (2564). ศึกษาการบริหารงานตามหลักพุทธธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนัง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. Journal of Modern Learning Development, 7(1), 56-68.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 63 ง (10 สิงหาคม 2542) : หน้า 24 - 25.

ราเชน ซามัน. (2562). การประยุกต์หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของข้าราชการด่านศุลกากรปะจวบคีรีขันธ์. Lawarath Social E-Journal, 1(2), 13-29.

ศิริพงษ์ อรุณเดชาชัย, กุลประภัสสร์ รำพึงจิตต์, ธัณฏิกานต์ คำวิเศษธนธรณ์, อนุชา ลาวงค์ และ ชุติภา บุตรดีวงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(3), 59-67.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). หลักเกณฑ์การพิจารณาการกำหนดระบบใบอนุญาตในกฎหมาย. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.krisdika.go.th/data/article77/filenew/03-2-2.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่. (2566). รายงานประจำปี อบต.บ้านใหม่. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2566. จาก https://baanmainon.go.th/public/list/data/index/menu/1142.

อโณทัย ดวงดารา, อนันต์ ธรรมชาลัย และ สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. (2566). แนวทางการบริหารภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 175-184.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-10