การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ศรีสอาด สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ชนะชัย อวนวัง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค LT, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT (3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LTการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพระกุมารมหาสารคาม จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคLT แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง กระบวนการประชาธิปไตย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.24/88.67 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ครั้งที่ 1 นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม อยู่ระดับปรับปรุง จำนวน 5 กลุ่ม และอยู่ระดับพอใช้ จำนวน 3 กลุ่ม ครั้งที่ 2 นักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ระดับพอใช้ จำนวน 7 กลุ่ม และ อยู่ระดับดี จำนวน 1 กลุ่ม และครั้งที่ 3 ทุกกลุ่ม มีคะแนนพฤติกรรมการทำงานกลุ่มอยู่ระดับดี และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คมชัดลึก.(2564). สวนดุสิตโพล เผยเด็กไทยเก่งโซเชียล เชื่อมั่นในตัวเองสูงแต่ขาดทักษะคิดวิเคราะห์. สืบค้น 5 มกราคม 2566. จาก https://www.komchadluek.net/news/454603.

จตุพร ดวงศรี และอรัญ ซุยกระเดื่อง. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือประกอบแผนผังความคิด เรื่อง อยุธยาและธนบุรี เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 17(1), 102-113.

จริยา ปัดถาเดช และ อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2566). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(1), 55-65.

ชนนิกานต์ กองแก้ว และ สุวรรณา จุ้ยทอง. (2561). การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิค LT. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 94-103.

ณัฐชา บุบผามะโล. (2563). การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการร่วมกันเรียนร่วมกับสื่อสังคมเพื่อส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสิกส์ เรื่องสมดุลกล. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ทิศนา แขมมณี. (2564).ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: จุฬากรณ์มหาวิทยาลัย.

สุปรียา ไผ่ล้อม. (2562). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4เรื่องพลเมืองต้นแบบ โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือรูปแบบร่วมเรียนรู้ (Learning Together : LT). วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(7), 131-134.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28