ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • วิทวัส นามวัฒน์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • สุนิตดา เทศนิยม สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจ, การทำงาน, บุคลากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี (2) ความสัมพันธ์ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ จำนวน 63 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .882 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประสิทธิภาพในการปฏิบัติของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความสัมพันธ์ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงมาก ได้แก่ ด้านความสำเร็จในอาชีพกับด้านเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยที่กำหนดแรงจูงใจในการทำงานเชิงสร้างที่มีอำนาจพยากรณ์ต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านความรับผิดชอบในการทำงาน มีอำนาจพยากรณ์เท่ากับ .959, .933 และ .921 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). แนวทางการเสริมสร้างความพร้อมในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566. จาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp.

เดช หิรัญพิศ. (2566). ความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลกุดเลาะอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยทองสุข).

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ธนาทิพย์ ขวัญทอง. (2565). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

ศวิตฉันท์ จันทา. (2564). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองช่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 2(3), 59-69.

สมมาตร บุญเพียร. (2565). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐตามโมเดล Thailand 5.0. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 10(2), 41-51.

สิทธิชัย สมวงษ์. (2566). ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโนนกอก อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยทองสุข).

สุรเจต ไชยพันธ์พงษ์. (2563). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดพะเยา. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 340-354.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(2), 182-194.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14