การเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์และเชื่อมโยงเส้นทางการเที่ยวตามแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ปิยาภรณ์ รัตโนภาส คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • จาตุรันต์ แช่มสุ่น คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • อารยา สุนทรวิภาต คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • ลักษมณ บุญมา คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • ปวงปณต สอบขุนทด คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวชายฝั่ง, การท่องเที่ยวชุมชน, จันทบุรี, ระบบภูมิสารสนเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี และ (2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ และอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตุและการจดบันทึก และการกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวที่สำคัญในแอปพลิเคชั่นกูเกิลแมพ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่การท่องเที่ยวของ 4 ชุมชน ซึ่งผลการศึกษาพบว่าจุดเด่นของชุมชนตามแนวชายฝั่ง จังหวัดจันทบุรี มีจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของพื้นที่ทางด้านทรัพยกรธรรมชาติที่สมบูรณ์ส่งผลให้สามารถสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงประวัติศาสตร์ เชิงเกษตร เชิงธรรมชาติและเชิงนันทนาการ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น โดยเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลกับชุมชนที่สำคัญมี 3 โปรแกรม ตามพฤติกรรมการท่องเที่ยว คือ 1) การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนในลักษณะของโปรแกรมท่องเที่ยว 1 วัน 2) การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนในลักษณะของโปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน และ 3) การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนในลักษณะของโปรแกรมท่องเที่ยว 2 วัน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ Q1-Q4 ปี 2563. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2566. จาก https://view.officeapps.live.com/op/view.aspx?src=https%3A%2F%2Fwww.mots.go.th%2Fimages%2Fv2022_1693889790530RG9tZXN0aWNfUTFfUTRf4Lib4Li1IDI1NjNf4Lig4Liy4LiE4LiV4Liw4Lin4Lix4LiZ4Lit4Lit4LiBLnhsc3g%3D.xlsx&wdOrigin=BROWSELINK.

ชานนท์ นัยจิตร และ อนุรักษ์ เชื้อมั่ง. (2559). การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบรวมฟีนอล และนิโคตินของสมุนไพรไทย 15 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(2), 351-361.

นิสากร ยินดีจันทร์, ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา และ สันดุสิทธิ์ บริวงษ์ตระกูล. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนจันทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 11(1), 248-260.

วิฆเนศวร ทะกอง และ อรวรรณ ศิริสวัสดิ์ อภิชยกุล. (2566). การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารท้องถิ่นจันทบุรีในบริบทการท่องเที่ยว. วารสารราชพฤกษ์, 21(2), 160-174.

สมรศรี คำตรง. (2564). แนวทางการจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 96-109.

สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2563). แผนที่จังหวัด. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2566. จาก http://www.chanthaburi.go.th/content/map.

สิทธิชัย ศรีเจริญประมง, ฤดีวรรณ ยิ่งยง และ ศตวรรษ ทิพโสต. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อการเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(2), 157-166.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2565). รายงานประจำปี 2565 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สืบค้น 8 สิงหาคม 2566. จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/all-media/book/9328-2565-25.html.

Nastasi, B. K., & Schensul, S. L. (2005). Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology, 43(3), 177-195.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-27