การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา : เขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • จิรทีปต์ เทียนเพิ่มพูล นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • สุนิตดา เทศนิยม คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยชุมชนของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร (2) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยชุมชนของผู้สูงอายุที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่มีทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีบังเอิญ จำนวน 364 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านชุมชนของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านจิตใจ ความสัมพันธ์ปัจจัยชุมชนของผู้สูงอายุที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการพยากรณ์ปัจจัยชุมชนของผู้สูงอายุ พบว่า ตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านการรักษาพยาบาล สามารถพยากรณ์ได้ว่า เป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์เท่ากับ .959 มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครสมุทรสาคร ได้ร้อยละ 95.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). แนวโน้ม สาเหตุ และผลที่ตามมาของการมีอายุสูงขึ้นของประชากร. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก http://www.dop.go.th/th.

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. (2552). การรับรู้ของผู้สูงอายุ. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก http://www.dsdw.go.th.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2564). ระบบดูแลและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ ผู้สูงอายุในระดับพื้นที่.สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.dop.go.th/th.

กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กัลยา มั่นล้วน, วิภาดา กาญจนสิทธิ์ และ นิภา สุทธิพันธ์. (2562). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลบ้านหนองโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา”. (น. 889-897). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

เจษฎา นกน้อย. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 94-105.

ณมน ธนินธญางกูร. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักสุขภาวะชุมชน : บ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารชุมชนวิจัย, 12(2), 192-203.

เทศบาลนครสมุทรสาคร. (2566). รายงานสถิติผู้สูงอายุในเทศบาลนครสมุทรสาคร. สมุทรสาคร: กองแผนและยุทธศาสตร์ สำนักงานเทศบาลเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร.

พิมพ์วดี โตยิ่ง. (2563). การวิเคราะห์คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. จาก http://www.mpa-mba.ru.ac.th/images/Project/treatise_lopburi01_02082021/6124952416.pdf.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ ศตพร เพียรวิมังสา. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในหมู่บ้านดอนเซ่ง ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 3144-3156.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14