การนำนโยบายการท่องเที่ยวไปปฏิบัติอันส่งผลต่อการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • สุภาพิชญ์ ไชยดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธีรพล กาญจนากาศ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์ คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย
  • ณฐนนท ทวีสิน คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การส่งเสริมฟื้นฟู, พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการนำนโยบายการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองระนอง (2) ศึกษาการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานจ้างทั่วไป พนักงานจ้างตามภารกิจ และลูกจ้างประจำที่กำลังปฏิบัติงานในสำนักงานเทศบาลเมืองระนอง การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด จำนวน 136 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การทดสอบสมมติฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การนำนโยบายการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของเทศบาลเมืองระนอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านทรัพยากรนโยบาย การส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านตลาดการท่องเที่ยว ความสัมพันธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติที่ส่งผลต่อการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่ทดสอบมีอำนาจพยากรณ์สูงสุด ได้แก่ ด้านความตั้งใจของผู้ปฏิบัติ มีค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยหรืออำนาจพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .993 หรือมีผลต่อการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลเมืองระนอง จังหวัดระนอง ร้อยละ 99.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2563). การสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย ปี 2563. สืบค้น 30 ตุลาคม 2566. จาก https://intelligencecenter.tat.or.th/articles/12311.

ฉัตรวิไล เหมือนประเสริฐ และ สหภาพพ่อค้าทอง. (2559). พฤติกรรมการท่องเที่ยว ทัศนคติความพึงพอใจและแรงจูงใจต่อการท่องเที่ยวเมืองพัทยา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 115-121.

ณัฐพล นวะมะรัตน์ และ กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2566). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจกับความจงรักภักดีในการท่องเที่ยวเชิงกีฬาในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 15-30.

เทศบาลเมืองระนอง. (2566). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565. ระนอง: เทศบาลเมืองระนอง.

ปาริชาติ ตันสุธิกุล. (2566). การนำนโยบายไปปฏิบัติด้านการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลนครระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), 1-14.

พิชชาอร เศวตคชกุล. (2561). ประสิทธิผลการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไปปฏิบัติของอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

รุ่งทิวา ท่าน้ำ และ อธิป จันทร์สุริย์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีถิ่นบนฐานแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 1(1), 90-111.

สำนักงานจังหวัดระนอง. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดระนอง พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 8 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.ranong.go.th/ic_links/ranong/pdf/2566-2570.pdf.

หยี่ฟาง แซ่ฟาง. (2564). การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากรองค์การ บริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปะการจัดการ, 5(1), 134-149.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28