แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

ผู้แต่ง

  • มนธิรา จันทร์เชื้อ หลักสูตร กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สำราญ มีแจ้ง ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สถิรพร เชาวน์ชัย ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำดิจิทัล, ครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ประชากร 930 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 274 คน โดยกําหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยการเปิดตารางเครจซี่และมอร์แกน (บุญชม ศรีสะอาด, 2556, น. 43) และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูในแต่ละอำเภอ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำดิจิทัลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสื่อสารทางดิจิทัลอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเป็นพลเมืองทางดิจิทัล ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ การป้องกันปัญหาและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาตามความสามารถของบุคลากรเพื่อให้สามารถบูรณาการโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กัลยวรรธน์ ตะเภาทอง และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต1. Journal of Modern Learning Development, 7(2), 41-55.

ชานนท์ คําปิวทา. (2565). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ชุติรัตน์ กาญจนธนชัย. (2562). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำดิจิตอลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).

ณัฐยาภรณ์ เล็กสิงโต. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นํายุคดิจิทัลของครูโรงเรียนประถมศึกษาใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยภัฏสกลนคร).

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นําดิจิทัล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์. (2565).แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วัชราภรณ์ แสงทิตย์. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชศรีมา. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง. The Journal of Education Naresuan University, 25(4), 317-326.

สุชญา โกมลวานิช, สิทธิชัย สอนสุภี, บุญฤทธิ์ เพ็ชรวิศิษฐ์ และ เกื้อจิตต์ ฉิมทิม. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน การประชุมวิชาการผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (น. 67-73). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

SIYU DU และ ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําดิจิทัลของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(2), 1061-1072.

Zhong, L. (2017). Indicators of Digital Leadership in the Context of K-12 Education. Journal of Educational Technology Development and Exchange, 10(1), 27-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28