การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • รัตติกาล เพียรเสมอ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย
  • ทัชชวัฒน์ เหล่าสุวรรณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิคจิ๊กซอว์, พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง (3) ศึกษาพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมมาศวิทยา จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ แบบวัดพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐานใช้ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ สาระหน้าที่พลเมือง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.37/82.07 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมในการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ครั้งที่ 1 และ 2 นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับพอใช้ ส่วนครั้งที่ 3 และ 4 นักเรียนมีพฤติกรรมในการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี และ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชนัญชิดา สายวันดี. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ jigsaw เรื่อง กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

ทิพวรรณ์ สลีอ่อน, รพีพัฒน์ เดือนเพ็ญศรี และ สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ (2562) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 6. HRD JOURNAL, 2(1), 42-55.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะวรรณ ศิลาเลิศ, ธงไชย สุขแสวง และ สิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (2566). การจัดการเรียนรู้เรื่อง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์. วารสารวิชาการ มจร.บุรีรัมย์, 8(3), 320-330.

โรงเรียนปทุมมาศวิทยา. (2564). รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR). สุรินทร์: โรงเรียนปทุมมาศวิทยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุพัตรา สมสุข และ อาลัย จันทร์พาณิชย์. (2567). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านหัวพลวง (รัฐพรมมณีอุทิศ) อำเภอท่าตะโกจังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิจัยและวิชาการบวรพัฒน์, 2(1), 1-17.

อรัญ ซุยกระเดื่อง. (2557). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28