แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

ผู้แต่ง

  • ปานเรขา เนื้อไม้ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สำราญ มีแจ้ง ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สถิรพร เชาวน์ชัย ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การรู้ดิจิทัล, การส่งเสริม, ครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 และ (2) แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 274 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของครูแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการรู้ดิจิทัลสำหรับครูที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางการรู้ดิจิทัลสำหรับครู กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การรู้ดิจิทัลสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับครู พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ควรจัดอบรมให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นให้กับครู มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร จัดการประกวดผลงาน และการสร้างเครือข่ายครูแกนนำ ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) มีระบบฐานข้อมูลหลักของโรงเรียน และจัดหาสื่อดิจิทัลให้กับครูในโรงเรียน รวมถึงการสร้างบรรยากาศและการติดต่อสื่อสารโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลภายในองค์กร

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศการะทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้น 5 ธันวาคม 2566. จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/.

กิตติพศ โกนสันเทียะ. (2565). สมรรถนะดิจิทัล: สมรรถนะใหม่สำหรับครูยุคปัจจุบัน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(2), 14-23.

กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2562). การเป็นครูที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐานในโลกดิจิทัลของศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 1–21.

ธีรภัทร์ วรคำ. (2565). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้โดยใช้การรู้ดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นวพัฒน์ เก็มกาแมน. (2563). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสำรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ภาณุพงศ์ พรหมมาลี. (2562). การวิเคราะห์การรู้ดิจิทัลของอาจารย์ระดับอุดมศึกษาโดยใช้แผนภูมิต้นไม้การจำแนกและการถดถอยกรณีศึกษาสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. (เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ศศิวิมล ม่วงกล่ำ. (2562). การวิเคราะห์องค์ประกอบด้านความสามารถทางดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดสระบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2561). เอกสารประกอบการสอนการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สนธยา หลักทอง และ เผชิญ กิจระการ (2563). การประเมินความต้องการจําเป็นเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลของครูในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 234 – 248.

สำนักงาน ก.พ. (2560). โครงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. สืบค้น 7 มิถุนายน 2566. จาก https://www.ocsc.go.th/DLProject/about-dlp.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 1. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). สืบค้น 5 ธันวาคม 2566. จาก https://drive.google.com/file/d/1NLGnudJjuwhSo5P9qEX_tcj-T9aP5hCQ/view.

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). Digital literacy. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-base/article-pr/854zxfdgsdgs.

สุภารักษ์ จูตระกูล. (2560). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives). วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 99-118.

สุวิทย์ กระดานลาด (2562). แนวทางการพัฒนาการรู้ดิจิทัลสําหรับครูในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตนที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

อลงกต สุทธการ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

Hague, C., & Payton, S. (2010). Digital Literacy Professional Development Resource. Retrieved 17 July 2023. from https://www.nfer.ac.uk/media/h4bi2zdc/futl07.pdf.

Hoechsmann, M., & DeWaard, H. (2016). Mapping digital literacy policy and practice in the Canadian education landscape. Retrieved 17 July 2023. from https://policycommons.net/artifacts/2031712/mapping-digital-literacy-policy-and-practice-in-the-canadian-education-landscape/2784155/.

UNESCO. (2018). A global framework of reference on digital literacy skills for indicator 4.4.2. Quebec: UNESCO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21