แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

ผู้แต่ง

  • เพ็ญสุดา หิรัญเกิด หลักสูตร กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สำราญ มีแจ้ง ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย
  • สถิรพร เชาวน์ชัย ภาควิชาบริหาร วิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, ความเป็นครูมืออาชีพ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู และ (2) แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 โดยประชากร ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 930 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 274 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามสัดส่วนของครูแต่ละอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านจรรยาบรรณวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด แต่ยังอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครู คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมุ่งทำให้ครูพัฒนาตนเองในด้านความรู้และทักษะ โดยการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดจากกรอบเดิม และการส่งเสริมทักษะการคิด อีกทั้งยังต้องส่งเสริมให้ครูเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้สื่อ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนที่สนับสนุนดิจิทัล นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่ครูและผู้เรียน และการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขอย่างยั่งยืนเช่นกัน

References

จิราธร โหมดสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการพัฒนาตนเองและความสามารถในการเผชิญฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(3), 270-285.

ชานนท์ คําปิวทา, สถิรพร เชาวน์ชัย, วิทยา จันทร์ศิลา และ ฉลอง ชาตรูปะชีวิน. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 139-150.

ทัศนีย์ เหล่าบุราณ. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะครูสังคมศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ธวัชชัย สุนทรนนท์. (2565). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพในยุคดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงาน ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. (ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2563). ความเป็นครูแนวทางการพัฒนาเชิงทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บงกช ทองเอี่ยม. (2562). การพัฒนาตัวชี้วัดทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครูในมหาวิทยาลัย แบบไม่จำกัดรับ. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 291-302.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ นักรบ หมี้แสน. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุมาศ เกษรสุริวงค์ และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลของครูภาษาอังกฤษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วารสารบัณฑิตวิจัย, 14(1), 81-97.

สถิรพร เชาวน์ชัย. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(4), 317-326.

สมัครสมร ภักดีเทวา. (2564). การเรียนรู้ยุคใหม่กับการเรียนการสอนออนไลน์ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 34(1), 1-18.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานการศึกษารูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607–610.

Sharma, M. (2017). Teacher in a Digital Era. Global Journal of Computer Science and Technology, 17(3), 10-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28