ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คำสำคัญ:
ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยี, พฤติกรรมการใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ผู้ใช้บริการยื่นภาษีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและความคิดเห็นผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา คือ ผู้ใช้บริการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งทำงานในหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 385 ตัวอย่าง และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะใช้วิธียื่นภาษีแบบออนไลน์ ส่วนผู้ที่ยื่นแบบฟอร์มกระดาษ เพียงร้อยละ 2.9 การใช้ระบบ “My Tax Account” ช่วยตรวจสอบค่าลดหย่อนภาษี มีสัดส่วนยังไม่มาก คิดเป็นร้อยละ 22.6 การใช้โปรแกรมช่วยคำนวณ “RD Payroll 90/91” และระบบ “My Tax Account” พบมากในช่วงอายุ 41 ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ รายได้ต่อเดือน การใช้โปรแกรม “RD Payroll 90/91” การใช้ระบบ “My Tax Account” มีผลต่อพฤติกรรมการยื่นภาษีแบบออนไลน์ และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้ใช้บริการยื่นภาษี พบว่า ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับ ด้านอิทธิพลทางสังคม มีผลต่อการใช้บริการยื่นภาษีออนไลน์ในระดับมาก โดยด้านการรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะเห็นว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์มีความถูกต้อง และช่วยให้สามารถใช้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการ/นอกเวลาราชการได้ ส่วนผู้เสียภาษียังมีความเห็นด้วยระดับมาก ว่าการยื่นภาษีแบบออนไลน์ มีความสะดวก แต่มีบางหัวข้อเห็นด้วยระดับปานกลาง คือ การใช้ระบบ “My Tax Account”
References
กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19 และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลก และในประเทศไทย. สืบค้น 10 มีนาคม 2566 จาก http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf.
กรมสรรพากร. (2566). Clear Cut My Tax Account ครบจบในที่เดียว. สืบค้น 10 มีนาคม 2566. จาก https://www.rd.go.th/63908.html.
กุสุมา ดำรงชัย และ กุหลาบ ปุริสาร. (2561). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชน ในตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑติเอเชีย, 8(1), 124-132.
เจกิตาห์ อินทร์พักทัน. (2564). การเลือกใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางออนไลน์ของข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักการคลัง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
ปฐมาภรณ์ บำรุงผล. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพระบบสารสนเทศที่ส่งผลต่อการตั้งใจใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้ยื่นภาษีในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พนิดา สุภาพอาภรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสำเร็จของการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ตของนิติบุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม).
ฟ้ารฬิณฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).
วรพรรณ นุตโร. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
วารีพร ชูศรี, จุฑามาศ พรหมมนตรี, บุตรี บุญโรจนพงศ์, นลินี อึ้งคุณากูล และ ปิยาพัชร สันเจริญ. (2565). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชน ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13 (น. 3220-3234). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2567. จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf.
อาริศรา นนทะคุณ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านทางออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.