รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพ, คุณภาพผู้เรียน, โรงเรียนเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช (2) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 15 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์และแบบประเมินรูปแบบการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช มีปัญหาเกิดจากขาดความพร้อมด้านครูผู้สอน การดำเนินการด้านหลักสูตรที่ยังไม่สมบูรณ์และไม่เหมาะสมกับผู้เรียน การจัดการด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ขาดความพร้อมของผู้เรียน การสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการและการประสานงานระหว่างวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราชกับโรงเรียนเครือข่ายยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงกัน คือ 1) การจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพ 2) การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 3) การมีส่วนร่วมของสถานประกอบการ การนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายของวิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช พบว่า เป็นไปได้ มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนอาชีพเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนเครือข่ายให้มีความรู้ มีทักษะอาชีพและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการสร้างอาชีพได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. สืบค้น 2 กันยายน 2566. จาก https://citly.me/ixA4L.
รุ่งทิพย์ พรหมหลวงศรี. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอาชีพผ่านเครือข่ายความร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย). อุดรธานี: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). การจัดการศึกษารูปแบบการศึกษานอกระบบแบบมีชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). นโยบายและจุดเน้นการปฏิบัติราชการ สอศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 และแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (งบลงทุน). สืบค้น 2 กันยายน 2566. จาก https://citly.me/edkEP.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
สุรศักดิ์ นาคาลักษณ์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างความเข้มแข็งที่ยั่งยืนให้กับชุมชน วิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.