การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
การจัดสภาพแวดล้อม, สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้, การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ (2) เพื่อนำเสนอและประเมินการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า (1) การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านกายภาพ: โดยเน้นการมีเครื่องมือที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคคลากรทางการศึกษา สื่อการเรียน อาคารสะอาด พื้นที่โรงเรียนมีความร่มรื่น 2) ด้านการบริหาร: ผู้บริหารและครูมีการทำงานเป็นทีม ประชุมปรึกษากันทุกสัปดาห์ 3) ด้านวิชาการ: ครูได้รับการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ การผลิตสื่อการเรียนการสอนเพียงพอ โดยทุกด้านส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยสถานศึกษาแต่งตั้งผู้รับผิดชอบที่มีความรู้และทักษะในการจัดสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมพร้อมดำเนินการวางแผนจัดสภาพแวดล้อมตามปฏิทินที่กำหนดไว้ มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสภาพแวดล้อมเพื่อต้องสรุปปรับปรุง แก้ไขให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย (2) ผลการนำเสนอและประเมินการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ สามารถนำไปใช้ได้และส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิต จำกัด.
จิราพร เครือแวงมน. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ภายในสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
พจนีย์ มั่งคั่ง. (2560). ทฤษฎี หลักการและกระบวนการทัศน์ในการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ทริป เพิ้ล กรุ๊ป.
พระมหาขุนทอง อคฺควโร (สนนําพา). (2554). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 35 จังหวัดพังงา. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีการศึกษา 2565. สืบค้น 2 มกราคม 2566. จาก https://www.rpk35.ac.th.
วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่น จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2567). ระบบการศึกษา และการจัดการศึกษาพิเศษ. สืบค้น 5 มีนาคม 2567. จาก https://research.otepc.go.th/files/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%203_laa7n0h0.pdf.
สุภาวดี ทองสําฤทธิ์. (2561). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).
อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.