กระบวนการสร้างประชาสังคมโดยชุมชนเพื่อการต่อรองอำนาจรัฐและทุน กรณีศึกษาชุมชนพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ฐิติ สิทธิศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศไทย
  • กัลยา แซ่อั้ง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ประชาสังคม, ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง, การต่อรองอำนาจรัฐและทุน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างและกระบวนการสร้างประชาสังคมโดยชุมชนพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ-บุญเรือง ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และ (2) เพื่อศึกษาบทบาทของประชาสังคมในการต่อรองอำนาจรัฐและทุน ผ่านกลยุทธ์การอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “กลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรือง” ด้วยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงพรรณนาโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงสร้างประชาสังคมโดยชุมชน ประกอบด้วยสมาชิก 17 องค์กร โดยจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มชุมชนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำบุญเรือง กลุ่มองค์กรภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs), และกลุ่มสถาบันการศึกษา – นักวิชาการ สัมพันธ์กันในแนวราบโดยอาศัยการจัดโครงสร้างองค์กรตามหน้าที่การงาน มีเป้าหมายหลักร่วมกัน คือการปกป้องและรักษาสิทธิของชุมชนในเรื่องหนังสือสำคัญที่หลวง (นสล.) กระบวนการสร้างประชาสังคม ชุมชนได้อาศัยแกนหลักสำคัญคือ “ฐานวัฒนธรรมชุมชน” ประกอบด้วย การสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน, ค่านิยมของชุมชน, และการแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจและระดมทรัพยากร 2) บทบาทของประชาสังคมในการต่อรองอำนาจรัฐและทุน ผ่านกลยุทธ์การอนุรักษ์พื้นที่ป่าชุมชน อาศัยการเคลื่อนไหวร้องทุกข์ต่อภาครัฐ, ดำเนินการติดตามเฝ้าระวังการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐและทุนในการรุกคืบเข้ามาในพื้นที่, รวมถึงการเบียดแย่งพื้นที่ในกระบวนการใช้อำนาจเพื่อจัดการทรัพยากรป่าชุมชน เพื่อให้ผืนป่าชุ่มน้ำบุญเรืองให้ยังคงเป็นผืนป่าชุ่มน้ำของชุมชนต่อไป

References

ขนิษฐา ศรีนนท์. (2544). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนย่อยต่อการวางแผนพัฒนา เทศบาลนครนนทบุรี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. (2563). ป่าชุ่มน้ำบุญเรื่อง จากเขตเศรษฐกิจพิเศษ สู่รางวัล Equator Prize. สัมภาษณ์. 5 มิถุนายน.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). การสร้างธรรมาภิบาล (good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2552). การเมืองบนท้องถนน ภาคประชาชน/ประชาสังคม บนเส้นทางการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยไทย. สืบค้น 17 ธันวาคม 2563. จาก https://waymagazine.org/prapart-pintobtang-interview/.

วถิราพร ด่านศรีบูรณ์ และ ภนิตา พรหมประกาย. (2560). คุณค่าพื้นที่บุญเรือง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรรณิการ์ ภูมิวงศ์พิทักษ์. (2540). ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการครอบครัวและชุมชนพัฒนา : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนดวงแขเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

เวธกา เสวครบุรี. (2554). โครงการวิจัยแนวทางการฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงบ้านไร่ป้า ตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากลไกสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองสายพันธุ์ใหม่ในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง. (2563). คุณค่าและความสำคัญของป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรือง. สืบค้น 15 กันยายน 2563. จาก http://www.ingcouncil.org/index.php/hidemenu-sez/8-boonroung-wetland.

สมบูรณ์ คำแหง. (2561). สภาประชาชนภาคใต้ ความท้าทายของภาคประชาสังคมในยุคเปลี่ยนผ่านของการเมืองปัจจุบัน หนังสือการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยในบทเรียนและประสบการณ์ของภาคประชาสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (9) ประเด็น เขตเศรษฐกิจพิเศษ (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้น 11 มกราคม 2563. จาก http://plan.bru.ac.th/ยุทธศาสตร์ชาติ-20-ปี-พ-ศ-2561-2580/.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน : วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนานและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2550). การเมืองของพลเมือง: สู่สหัสวรรษใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: คบไฟ.

RECOFTC ประเทศไทย. (2563). กลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรืองจากประเทศไทยได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมระดับโลก Equator Prize ประจำปี 2563. สืบค้น 5 มิถุนายน 2563. จาก https://www.recoftc.org/thailand/news/กลุ่มอนุรักษ์ป่าบุญเรืองจากประเทศไทยได้รับรางวัลสิ่งแวดล้อมระดับโลก-equator-prize-ประจำปี-2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28