รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุโดยองค์กรเครือข่าย

ผู้แต่ง

  • อุบลวรรณา ภวกานันท์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ศรัณย์ กอสนาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่าย, การปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ, เขตชุมชนเทศบาลเมือง, เขตชุมชนชนบทเทศบาลตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุ (2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรเครือข่ายในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมกับผู้สูงอายุ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 คน คือ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู องค์กรเครือข่าย หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนผู้สูงอายุในเขตชุมชนเทศบาลเมืองบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จ.นนทบุรี 18 คน และในเขตชุมชนชนบทเทศบาลตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จ.สระบุรี 10 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลพบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุนั้นเป็นไปตามลักษณะของการปรับตัวทางสังคมใน 6 ด้านคือ 1) มาตรฐานทางสังคม 2) ทักษะทางสังคม 3) แนวโน้มพฤติกรรมต่อต้านสังคม 4) ความสัมพันธ์ในครอบครัว 5) ความสัมพันธ์ในสถาบันการศึกษา/ชมรม/กลุ่มสังคม และ 6) ความสัมพันธ์ในชุมชนที่อยู่อาศัย รูปแบบของการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุขององค์กรเครือข่ายนี้มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3) การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล 4) การมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์หรือรับผลประโยชน์ ผลของทั้ง 2 พื้นที่พบว่า นโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญในการปฏิบัติและสนับสนุนกิจกรรมของผู้สูงอายุจะเป็นไปตามหน้าที่หลักขององค์กรและตามรูปแบบระบบราชการ เช่น การวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน/สังคม โดยในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น ภาคประชาชนจะอยู่ในขั้นที่ 1 คือร่วมตัดสินใจ ส่วนขั้นต่อไปคือ การดำเนินการ การติดตามตรวจสอบ จะเป็นบทบาทหน้าที่ของทางราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้สูงอายุจะเข้ามามีบทบาทอีกครั้งก็คือการร่วมรับผลประโยชน์

References

กระทรวงการคลัง. (2565). มาตรการรองรับสังคมผู้สูงอายุงบประมาณภาครัฐด้านสวัสดิการชราภาพ. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.mof.go.th.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และ มาริสา สุวรรณราช. (2562). สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 118-132.

กุลวดี โรจน์ไพศาลกิจ และ ยุวดี รอดจากภัย. (2561). สุขภาวะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 113–127.

จรัญญา วงษ์พรหม, คีรีบูน จงวุฒิเวศย์, นวลฉวี ประเสริฐสุข และ นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Slipakorn. University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 41-54.

ฉัตร์ชัย สิงโต. (2555). รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างภาคประชาชนภาคท้องถิ่น และภาครัฐในพื้นที่ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง. (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิตศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

ณัฐธิยาน์ อิทธิโชติ และ บัวทอง สว่างโสภากุล. (2562). ทักษะชีวิต การปรับตัว สัมพันธภาพในครอบครัวกับการพึ่งพาตนเองของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 50-65.

ภัทรรดา อุ่นกมล. (2562). การรับรู้คุณค่าของตนเองและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 125-137.

สหประชาชาติ ประเทศไทย (2567). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี. สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://thailand.un.org/th/sdgs/3.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติผู้สูงอายุในประเทศไทย 2564. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก http://www.nso.go.th.

สุทิน สุขคง. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการนำโครงการไปสู่การปฏิบัติระดับหมู่บ้าน : กรณีศึกษา บ้านหนองกุง ตำบลหนองเรือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 9(28), 59-70.

อุกฤษฏ์ ชาวแพรกน้อย. (2564). การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุต่อกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเทศบาลตำบลหลักห้า อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 18(80), 15-22.

อุบลวรรณา ภวกานันท์, บัณฑิตา ถิรทิตสกุล และ ศรัณย์ กอสนาน. (2565). บริบทการปรับตัวทางสังคมของผู้สูงอายุในเขตชุมชนเมืองและชุมชนชนบท (กิจกรรมที่ 1). วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 173-188.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

Sackett, P.R. (2003). The Structure of Counterproductive Work Behaviors: Dimensionality and Relationships with Facets of Job Performance. International Journal of Selection and Assessment, 10(1-2), 5-11.

Weissman, M. M., Sholomskas, D., & John, K. (1981). The assessment of social adjustment: An update. Archives of general psychiatry, 38(11), 1250-1258.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28