การศึกษารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

ผู้แต่ง

  • อติศักดิ์ สุดเสน่หา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย
  • กัญภร เอี่ยมพญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย
  • พรทิพย์ อ้นเกษม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (2) ศึกษารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 182 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จากระยะที่ 1 ระยะที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนิเทศภายในสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ ข้อคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สภาพการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผน 2) อำนวยความสะดวก 3) การสนับสนุน 4) การแลกเปลี่ยน 5) การสร้างขวัญกำลังใจ และ (3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาโดยรวมมีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้ในการนิเทศภายในสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสได้จริง มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์

References

กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน. (2561). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2560). การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจำลอง/ตัวแบบ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 1-11.

ชุตินันท์ ก้อนทอง. (2563). สภาพการนิเทศและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาอำเภอศรีรัตนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชธานี).

ทองคำ อำไพ. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

นรินทร์ บุตรพรม. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ).

มณีรัตน์ เย็นสวัสดิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศด้วยชมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของครูระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, 1(2), 170-174.

สายวินิตย์ ดวงสนาม. (2563). การนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2564). แผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ระยะ 10 ปี ปีงบประมาณ 2564. สระแก้ว: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2564). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) ประจำปีการศึกษา 2563. สระแก้ว: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2564). เอกสารลำดับที่ 5/2564 สรุปผลการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา SK1 CAI สู่มาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ 2564. สระแก้ว: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2567). รายงานการวิเคราะห์สภาพโรงเรียนเพื่อจัดกลุ่มตามความเข้มแข็งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน “ยกระดับขยับสี” ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สระแก้ว: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ศาสตร์และศิลป์ในการนิเทศการศึกษา เอกสารลำดับที่ 3/2564. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รูปแบบการบริหารและการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สุดเสน่หา อ., เอี่ยมพญา ก., & อ้นเกษม พ. (2024). การศึกษารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 79–94. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/273109