การศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางปะกง (แห่งใหม่)

ผู้แต่ง

  • ปุริมปรัชญ์ จรรยา นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน, การวิเคราะห์ความอ่อนไหว, ความเป็นไปได้ทางการเงิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางปะกง (แห่งใหม่) กำหนดระยะเวลาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือการลงทุน 2 ปี และการบริหารโครงการ 30 ปี จากการวิเคราะห์รายได้ตลอดโครงการมีรายได้รวม 4,941 ล้านบาท ทั้งนี้การบริหารโครงการแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 คือภาครัฐเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลัก และภาคเอกชนรับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการ การบำรุงรักษา รายได้ทั้งหมดเป็นของเอกชน และเอกชนจ่ายค่าตอบแทนแก่ทางภาครัฐ และรูปแบบที่ 2 คือเอกชนทุนก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างหลัก พร้อมบริหารจัดการโครงการ การบำรุงรักษา ภาครัฐจ่ายค่าตอบแทนแก่ทางเอกชน โดยรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบการร่วมลงทุนที่มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากรูปแบบนี้มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 2,529 ล้านบาท ทั้งนี้หากเอกชนได้รับผลตอนแทนแก่ทางภาครัฐแล้ว โครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 583.69 ล้านบาท และมีอัตราส่วนผลประโยชน์ตอบแทนต่อเงินลงทุนอยู่ที่ 1.43 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 9.29 ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ หากวิเคราะห์ความอ่อนไหวและวิเคราะห์ภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ พบว่า โครงการยังคงมีความน่าดึงดูดต่อเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุน ดังนั้นการให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบที่ 2 เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมมากที่สุด

References

กรมทางหลวง. (2564a). การให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการสถานที่บริการทางหลวงบางละมุง (Bang Bang Lamung Service Area) Service Area) Service Area) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง ช่วงพัทยา – มาบตาพุด. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กรมทางหลวง. (2564b). การให้เอกชนร่วมลงทุนในการพัฒนาและบริหารจัดการโครงการศูนย์บริการทางหลวงศรีราช (Si Racha Racha Service Center) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร –บ้านฉางช่วงชลบุรี - พัทยา. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

กรมทางหลวง. (2564c). แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการพัฒนาที่พักริมทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ - บ้านฉาง (ช่วงกรุงเทพฯ - ชลบุรี - พัทยา - มาบตาพุด) พ.ศ. 2563 – 2567ของกรมทางหลวง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม.

ชูชีพ พิพัฒน์ศิถี. (2544). เศรษฐศาสตร์การวิเคราะห์โครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์-แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

ประสิทธิ์ ตงยิ่งศิริ. (2542). การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ปวเรศ ถาวรประเสริฐ. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้การลงทุนอาคารเขียวตามเกณฑ์ประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พรนภา เมธาวีวงศ์. (2559). ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินโครงการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

รัชพงษ์ กลิ่นศรีสุข และคณะ. (2561). วิเคราะห์ผลตอบแทนของรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุมนฑา เอี่ยมเจริญ. (2557). แนวทางการจัดการขยะของจังหวัดสมุทรสาคร ในการมุ่งสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายใต้พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

Feng, K., Xiong, W., Wang, S., Wu, C., & Xue, Y. (2017). Optimizing an equity capital structure model for public–private partnership projects involved with public funds. Journal of construction engineering and management, 143(9), 04017067.

Fernandes, M. J. C. (2012). Evaluating Risks in Public Private Partnerships: The Case of the Portuguese Road Sector. (Doctoral dissertation, Universidade Tecnica de Lisboa (Portugal)).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28