การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีพุทธเพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พระคมสัน เจริญวงค์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ภัทรพล ใจเย็น ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย
  • พระครูปิยธรรมบัณฑิต ภาควิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์, วัสดุเหลือใช้, การจัดการขยะวิถีพุทธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวมกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีพุทธจากวัสดุเหลือใช้ ออกแบบอุปกรณ์กำจัดวัสดุเหลือใช้ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แปรรูปขยะและวัสดุเหลือใช้ให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สร้างรายได้ให้กับชุมชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ทำกิจกรรมและสัมภาษณ์เชิงลึกชาวบ้านในเทศบาลตำบลหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 17 ท่าน โดยระดมความคิด ใช้เทคนิค AIC, SWOT, ARR และ Mind map สังเกตการณ์มีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก ออกแบบอุปกรณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขยะเพื่อสร้างรายได้ ผลการวิจัยพบว่า มีการรวมกลุ่มสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชน 3 ลักษณะ คือ (1) เป็นกลุ่มทำงานด้วยจิตอาสาเพื่อจัดการขยะมูลฝอยชุมชน (2) ออกแบบกิจกรรม ใช้เทคนิคการวาดแผนที่ความคิด โครงสร้างกระบวนการ แนวทาง เป้าหมายการทำงาน การวาดแผนที่ความคิดการทำงานการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ประกอบด้วย ปัญหา พฤติกรรมของคนในชุมชน ขีดความสามารถ แนวทางการพัฒนา ผู้รับผิดชอบ กิจกรรม และการขยายผล (3) ขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้ “พลัง บวร” คือ 1) ชาวบ้านรู้ประโยชน์การคัดแยกขยะ ภัยร้ายจากปัญหาขยะ 2) วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ พระสงฆ์เป็นผู้นำการทำบุญด้วยขยะ 3) สร้างความร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อจัดการระดับชุมชน กำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติและการออกกฎระเบียบการจัดการขยะระดับท้องถิ่น การออกแบบอุปกรณ์เน้นกำจัดขยะธรรมชาติและขยะเปียกจากครัวเรือน ได้อุปกรณ์ลดปริมาณขยะด้วยการเผา ไม่ส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศรบกวนชาวบ้าน คือ “เตาเผาขยะไบโอชาร์” โดยทำการทดลองและออกแบบอุปกรณ์จากผู้เชี่ยวชาญและปราชญ์ชาวบ้าน ผลิตผลจากการเผา ได้แก่ ถ่านไบโอชาร์ และน้ำส้มควันไม้ การสร้างรายได้จากวัสดุเหลือใช้และขยะภายในชุมชน มี 2 ประเภท คือ (1) รายได้จากขยะรีไซเคิล โดยขายขยะจากผ้าป่าขยะ เช่น ขวดพลาสติก ขวดแก้ว (2) รายได้จากขยะธรรมชาติ จากผลิตภัณฑ์ คือ ถ่านหุงต้ม ถ่านไบโอชาร์ดูดซับความอับชื้น ปุ๋ยหมักไบโอชาร์ น้ำส้มควันไม้

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2564). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท เอพี คอนเน็กซ์ จำกัด.

กานดา พุทธรักษา. (2540). ผลการใช้แบบฝึกการเขียนแบบสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพนัสศึกษาลัย อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 12.

กิตติศักดิ์ วิธินันทกิตต์. (2559). การพัฒนาเตาเผาขยะสำหรับชุมชน (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก.

จรียา ยิ้มรัตนบวร และ อภิชน วัชเรนทร์วงศ์. (2561). การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนขนาดเล็ก โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: ทางเลือกและโอกาส (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ณัจฉรียา คำยัง. (2555). การจัดการขยะมูลฝอยอินทรีย์โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น (รายงานการวิจัย). เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ณัฐวัฒน์ โสมดี. (2561). การจัดการปัญหาน้ำเสียโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ขยะแปลงเป็นทุนในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

เดโช ไชยทัพ. (2557). บันทึกสาระถอดบทเรียน การขับเคลื่อนองค์กรชุมชนและเครือข่ายความร่วมมือจังหวัดเชียงใหม่ กรณี : การจัดการปัญหาหมอกควันที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

เทศบาลตำบลหนองบัว. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้น 4 สิงหาคม 2566. จาก https://www.nongbuamuni.go.th/content/information/.

พงศ์เทพ สุวรรณวารี, วาสนา ภานุรักษ์, ราชัน ธีระพิทยาตระกูล, คชากฤษณ์ สุขเจริญ, เนตรนภา พงเพ็ช และ มนัสวี พานิชนอก. (2555). การจัดการขยะและน้ำเสียโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วชิราภรณ์ ขุนจันทร์, สุมล รักแดง และ บุญเลิศ แก้วเอียด. (2557). โครงการกลยุทธ์การจัดการขยะอย่างมีส่วนร่วมในเทศบาลเมืองเขารูปช้าง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Intergovernmental Panel on Climate Change. (2022). Climate Change 2022: Impacts, Adaptation and Vulnerability. Retrieved 6 September 2023. from https://www.ipcc.ch/report/ar6/wg2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28