ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธ
คำสำคัญ:
ยุทธศาสตร์พัฒนา, เครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อม, ชุมชนวิถีพุทธ, ระบบนิเวศบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาระบบนิเวศและเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธ (2) เพื่อพัฒนาระบบจัดการขยะต้นทางและลดต้นทุนในการจัดการขยะชุมชนวิถีพุทธ (3) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการคัดแยกและรูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน (4) เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์และเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธต้นแบบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การวิจัยเชิงเอกสารศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงพื้นที่ การวิจัยเชิงปฏิบัติการภาคสนามสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มเฉพาะ พื้นที่ในการวิจัยในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ ภาคกลาง ได้แก่ ชุมชนในตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 4 ชุมชน ภาคเหนือ ได้แก่ ชุมชนในตำบลท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ชุมชน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ผู้แทนองค์กรศาสนาและผู้นำชุมชน 6 คน ผู้แทนประชาชน 6 คน รวม 18 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาการสะสมของขยะในชุมชนทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน เกิดขึ้นจากขาดความรับผิดชอบ ขาดความรู้ และขาดการมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะต้นทาง วิธีแก้ปัญหาโดยการสร้างแกนนำจิตอาสาและพัฒนาระบบการจัดการขยะในระดับครัวเรือน 5 ขั้นตอน คือ คัดแยกขยะ นำขยะไปทำบุญ ขายขยะนำเงินมาทำสาธารณะประโยชน์ ให้ความรู้ในการสร้างชุมชนให้สะอาดน่าอยู่ ขยะที่ผ่านการคัดแยกมี 2 ประเภทคือ (1) ขยะเคมีสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยวิธีจำหน่วยเพื่อนำเงินไปใช้ในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ตามความเห็นของสมาชิก เช่น บูรณะวัด ซื้ออุปกรณ์ใช้สอยในชุมชน จัดทำเป็นสวัสดิการดูแลสมาชิกในกรณีเกิด แก่ เจ็บ ตาย (2) ขยะอินทรีย์จะนำไปเผาถ่าน ทำน้ำส้มควันไม้และทำเป็นปุ๋ยหมักลดปริมาณขยะและลดภาระหน่วนงานภาครัฐ องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นนำไปสู่การกำหนดเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาเครือข่ายการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนวิถีพุทธต้นแบบ 4 ระบบ ได้แก่ ระบบกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลต้นทาง ระบบส่งเสริมองค์ความรู้สู่ชุมชน ระบบการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและระบบกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูลที่ยั่งยืน
References
กระทรวงมหาดไทย. (2566). แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2566. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566. จาก https://drive.google.com/drive/folders/1nBD1qfiMi7Qw4j-bLJJbAgrWLPNKt04M.
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างชุมชนเข้มแข็งของเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 115-128.
พรพิมล แก้วอ่อน. (2565). แนวทางการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ตามหลักทุติยปาปณิกสูตร ของผู้บริหารโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนฟ้าอุดม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วารสารวิจยวิชาการ, 5(2), 91-104.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สืบค้น 14 มกราคม 2565. จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/06/NS_PlanOct2018.pdf.
สุขุมาลย์ ประสมศักดิ์. (2557). กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลัก พุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.