แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำแนกเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 20 คน และครูจำนวน 338 คน รวมทั้งสิ้น 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (Priority Needs Index : PNI) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) ด้านการนิเทศการศึกษาและให้คำปรึกษา 2) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 4) ด้านการบริหารจัดการ และ 5) ด้านการวางแผนงานวิชาการและกำหนดพันธกิจ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มี 5 ด้าน 25 แนวทาง ประกอบด้วย 1) ด้านการนิเทศการศึกษาและให้คำปรึกษา 5 แนวทาง 2) ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ 5 แนวทาง 3) ด้านการจัดการหลักสูตรและการสอน 5 แนวทาง 4) ด้านการบริหารจัดการ 5 แนวทาง และ 5) ด้านการวางแผนงานวิชาการและกำหนดพันธกิจ 5 แนวทาง
References
ไชยา ภาวะบุตร. (2565). หลัก ทฤษฎี และปฏิบัติ การบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
นรินทร์พร เขตชมภู และ ปองภพ ภูจอมจิตร. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 10(2), 563-578.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยวัฒน์ คำโคตร และ อมรทิพย์ เจริญผล. (2565). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(3), 99-101.
มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
รวิภา ศรีวัตร, สุชาติ บางวิเศษ และ สุขุม พรมเมืองคุณ. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง, 7(2), 41-42.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ขอนแก่น: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิสิทธิ์ วงษ์ประดิษฐ์, อานนท์ เมธีวรฉัตร และ วินัย ทองมั่น. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(4), 199-200.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.