การตัดสินใจลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การตัดสินใจลงทุนโครงการ, โรงไฟฟ้าชีวมวล, อำเภอพิมาย, จังหวัดนครราชสีมาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการวัตถุดิบ เพื่อหาแนวทางในการจัดซื้อวัตถุดิบให้มีต้นทุนต่ำที่สุดและการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน ในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กมากขนาด 1 เมกะวัตต์ ในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับโรงไฟฟ้าชีวมวล 5 แห่ง เพื่อทราบถึงเทคโนโลยีในการผลิตและการจัดการวัตถุดิบ รวมทั้งสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่และโรงงานแปรรูปมันสัมปะหลังในพื้นที่อำเภอพิมาย เพื่อให้ได้ข้อมูลวัตถุดิบในพื้นที่ ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารวิชาการต่างๆ เพื่อทราบถึงการรับซื้อไฟฟ้าในปัจจุบัน และข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุดิบ ข้อมูลทั้งสองแบบถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ โดยตั้งเงื่อนไขการตัดสินใจลงทุนไว้ที่ มูลค่าปัจจุบันของโครงการ (Net Present Value: NPV) > 0, อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR) > ต้นทุนทางการเงิน, อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อทุน (Benefit/Cost Ratio: BCR) > 1, ระยะเวลาคืนทุนคิดลด (Discounted Payback Period: DPB) < อายุของโครงการ ผลการวิจัยพบว่า วัตถุดิบในพื้นที่เพียงพอ และจากการวิเคราะห์พบว่า มีการใช้วัตถุดิบตามความสามารถในการผลิตไฟฟ้าและความเป็นฤดูกาล โดยมีการใช้วัตถุดิบ 3 ประเภทคือ ใบอ้อย ฟางข้าว และกากมันสำปะหลัง ที่แตกต่างกันในแต่ละเดือน เมื่อคำนวณแล้วจะมีต้นทุนวัตถุดิบรวมต่ำที่สุดต่อปีที่ 13,458,000 บาท ผลการวิเคราะห์หาผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ได้ผลการวิเคราะห์ได้ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่ 112,132,870 บาท ซึ่งมีค่ามากกว่าศูนย์ ระยะเวลาคืนทุนคิดลดเท่ากับ 3.60 ปี (3 ปี 8 เดือน) อัตราผลตอบแทนในโครงการเท่ากับร้อยละ 31.36 ซึ่งมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุนเท่ากับ 1.39 ซึ่งเมื่อพิจารณาโครงการแล้วมีความเป็นไปได้ทางการเงินและมีความคุ้มค่าในการลงทุนโดยมีระยะเวลาคืนทุนน้อยกว่าระยะเวลาของโครงการ การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการตัดสินใจในการลงทุนโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชีวภาพขนาดเล็กมาก จากวัตถุดิบเหลือ ใช้ทางการเกษตร ในพื้นที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา และพื้นที่อื่นๆ ที่มีความเป็นไปได้ใน การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนชีวภาพขนาดเล็กมาก
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2561). แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2561 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (แผน PDP2018 Rev.1.) สืบค้น 2 มีนาคม 2567. จาก https://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/public_relations/PDP2018/PDP2018Rev1.pdf.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2566). สรุปสถานการณ์ใช้พลังงานปี 2566. สืบค้น 2 มีนาคม 2567. จาก https://www.eppo.go.th/index.php/en/component/k2/item/20369-news-180367.
ขวัญชนก อภิวัฒนานนท์. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดนครพนม. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์).
ดวงใจ จีนานุรักษ์. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
มธุรดา กีฬา. (2557). การตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากด้วยก๊าซชีวภาพในจังหวัดอำนาจเจริญ : กรณีศึกษา ฟางข้าว กากมันสำปะหลัง ใบอ้อย และหญ้าเนเปียร์. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.