การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวชุมชน, เกาะลิบง, จังหวัดตรังบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางและไม่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวคนไทยที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จำนวน 400 คน และนักท่องเที่ยวคนไทยที่ไม่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง จำนวน 200 คน การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติอย่างง่าย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องชุมชนเกาะลิบง ส่วนใหญ่เดินทางมาเที่ยวเป็นครั้งแรก หรือ 1 ครั้ง ส่วนมากเดินทางมาเที่ยวกันแบบครอบครัว แบบพักค้างคืน 2 วัน 1 คืน คนในครอบครัวมีอิทธิพลมากที่สุดในการเลือกมาเที่ยว มีการวางแผนการเที่ยวด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่ รู้จักชุมชนเกาะลิบงจากเพื่อน/ญาติ มาเที่ยวเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ จากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า การเคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงและเพศ อายุ จังหวัดที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน อาชีพ รายได้ต่อเดือน สถานภาพ มีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญที่ 5% หรือที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% สำหรับผลการแนะนำ/บอกต่อ ของนักท่องเที่ยวที่เคยเดินทางมาเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบง พบว่า นักท่องเที่ยวให้คะแนนด้านอาหารเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ภาพรวมในการมาเที่ยวเกาะลิบง กิจกรรมต่าง ๆ บนเกาะ และที่พัก ตามลำดับ ดังนั้นจากผลการศึกษาจังหวัดตรังควรมีการประชาสัมพันธ์ เช่น การจัดกิจกรรมอาหารท้องถิ่นช่วงเทศกาลท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง หรือพัฒนาเว็บไซต์ให้หาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงได้ง่าย เพื่อเป็นทางเลือกและการตัดสินใจในการวางแผนการเดินทางมาเที่ยว ถ้ามีการปรับปรุง และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเกาะลิบงให้เป็นที่รู้จัก จะทำให้ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเพิ่มขึ้น และเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับทั้งประเทศ จังหวัด และคนในชุมชน
References
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). “เกาะกระดาน” ขึ้นอันดับ 1 ชายหาดที่ดีที่สุดในโลก จากการจัดอันดับของเว็บไซต์ World beach guide นายกฯ ชื่นชมทุกหน่วยงานต่อยอดความนิยม ส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลในประเทศไทย. สืบค้น 26 สิงหาคม 2566. จาก https://www.thansettakij.com/news/561225#google_vignette.
นุสรา ปารมี. (2564). พฤติกรรมวิถีใหม่ของนักท่องเที่ยวที่มีติอการท่องเที่ยวบนเกาะสีชัง ภายใต้มาตรการป้องกัน และการเฝ้าระวังการระบาด COVID-19. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
เบญจาวดี กลิ่นธูป. (2558). การวิเคราะห์คุณลักษณะทางคุณภาพตามแบบจำลองคาโนของการท่องเที่ยวตลาดน้ำ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. สืบค้น 29 ธันวาคม 2566. จาก http://edu.yru.ac.th/evaluate/attach/1465551003_เอกสารประกอบการอบรม.pdf.
ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย. Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand. 4(1), 30-45.
วิรัตน์ จันทร์กิ่งทอง. (2559). พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยในอุทยานแห่งชาติธารเสด็จ-เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 (น. 1189-1198). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
สำนักงานจังหวัดตรัง. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 29 ธันวาคม 2566. จาก https://ww2.trang.go.th/files/com_news_devpro/2024-04_dfdd233f00b486f.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580. สืบค้น 29 ธันวาคม 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 5 กันยายน 2566. จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230307173518.pdf.
อัศวิน แสงพิกุล. (2562). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hair, J. F., Black, W. C., Anderson, R. E., & Babin, B. J. (2018). Multivariate Data Analysis. (8th edition). Noida Uttar Pradesh: Cengage.
Kinasih, R. S., & Roessali, W. (2020). Visitors’ satisfaction and development strategy of Purwosari agro-tourism in Semarang. Journal of Socioeconomics and Development, 3(2), 33-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.