การพัฒนาของบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, การฝึกทักษะทางสังคม, ความต้องการจำเป็นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการจำเป็นการพัฒนาของบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้ผู้ใช้บริการตามมาตรฐานการคุ้มครองและพัฒนาศักยภาพคนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และ (2) วิธีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นทีมสหวิชาชีพของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ จำนวน 210 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ค่าต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index) ผลการศึกษาพบว่า ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาบุคลากร เรียงลำดับจากค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ ทักษะการฝึกทักษะทางสังคม รองลงมาคือความรู้ทักษะทางสังคม และทัศนคติต่อการฝึกทักษะทางสังคม วิธีการพัฒนาบุคลากรให้สามารถฝึกทักษะทางสังคมมีลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือการพัฒนานอกเวลา การปฏิบัติงาน ทั้ง 3 ด้าน ความรู้ทักษะทางสังคม รองลงมาทักษะการฝึกทักษะทางสังคม และทัศนคติต่อการฝึกทักษะทางสังคมตามลำดับ ข้อเสนอแนะควรบรรจุแผนการพัฒนาบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการ มีความต้องการจำเป็นมากที่สุดคือทักษะการฝึกทักษะทางสังคม ความรู้ทักษะทางสังคม และทัศนคติการฝึกทักษะทางสังคม ด้วยวิธีการพัฒนาบุคลากรนอกเวลาการปฏิบัติงาน คือ การศึกษาดูงาน การจำลองสถานการณ์ และการฝึกอบรม รวมทั้งควรมีการติดตามการนำแผนพัฒนาบุคลากรในการฝึกทักษะทางสังคมให้แก่คนพิการไปปฏิบัติ
References
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2565). แผนการพัฒนาบุคลากรของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569). สืบค้น 20 เมษายน 25567. จาก https://dep.go.th/th/law-academic/แผนพัฒนาบุคลากร-พก/แผนพัฒนาบุคลากร-พก-ระยะ-5-ปี-พ-ศ-2565-2569.
กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2566). สถานการณ์คนพิการในสถาบัน. สืบค้น 10 กรกฎาคม 25567. จาก https://drive.google.com/drive/folders/1yyw6dzrvfFOLNCSYYPkYbd_jXpF_z0Lq.
กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ. (2560). คู่มือการปฏิบัติงานในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ.
กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ. (2561). มาตรฐานการคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนา. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก https://dep.go.th/th/law-academic/documents-download/safety-protection-doc.
ธนิดา รัตนสุวรรณ (2557). เรื่องเล่าการปรับตัวในการทำงานของคนพิการที่อยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพปากเกร็ด. (สังคมสงเคราะศาตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
นพพร โสวรรณะ. (2564). การเรียนออนไลน์กำลังบูม ทฤษฎีของบลูม (Bloom’s taxonomy) ช่วยได้. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก https://www.khonatwork.com/post/การเร-ยนออนไลน-กำล-งบ-ม-ทฤษฎ-ของบล-ม-bloom-s-taxonomy-ช-วยได.
มูนา เก็นตาสา และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นและระดับสมรรถนะบุคลากรสนับสนุนด้านวิชาการของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดเกณฑ์คุณภาพมหาวิทยาลัยระดับนานาชาติ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(1), 46-58.
สถาบันราชานุกูล. (2550). คู่มือฝึกเด็กในการดำรงชีวิตประจำวัน เรื่อง ทักษะทางสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล.
สุนิสา ยาไทย และ ธีรภัทร กุโลภาส. (2565). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเจ้าหน้าที่บริการการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามแนวคิดการให้บริการที่เป็นเลิศ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 9(2), 346-355.
สุพัตรา มณีจักร. (2562). การเตรียมความพร้อมคนพิการก่อนคืนสู่สังคมของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Nordic Health & Welfare Statistics. (2024). Services to people with disabilities. Retrieved 9 July 2024. from https://nhwstat.org/welfare/disability/services-people-disabilities.
Yamane, T. (1973). Statistics: an Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.