ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยง ในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

ผู้แต่ง

  • รุ่งสิฐฐี นุราช นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย
  • พงษ์เทพ สันติกุล คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย
  • ไททัศน์ มาลา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พี่เลี้ยง, สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ, คนพิการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พี่เลี้ยง จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พี่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46-55 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 1-10 ปี รายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท จำนวนวันหยุดต่อเดือน 13-15 วัน ลักษณะการเข้า-ออกเวรการปฏิบัติงาน เข้าทำงาน 2 วัน หยุดพัก 2 วัน มีคู่เวร อยู่เวรร่วมกัน 2 คน แรงจูงใจในการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน มีเพียงด้านเงินเดือนที่อยู่ในระดับปานกลาง คุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและรายด้าน มีด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานและด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอที่อยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจในการทำงานมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพี่เลี้ยงในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พบว่า ควรปรับอัตราค่าจ้าง/ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น เพื่อตอบแทนการทำงานในภาวะยากลำบากและเสี่ยงอันตราย จัดสรรอัตราบรรจุพนักงานราชการ เพื่อดึงดูดและรักษาคนทำงานให้อยู่กับองค์กรไปนานๆ และมีการสนับสนุนให้มีการอบรมเสริมความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

References

กรมส่งเสริมเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคคนพิการ. (2563). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี พ.ศ. 2563-2565. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. จาก http://dep.go.th/uploads/Downloads/cee7f437-a393-4183-abcd-80fc659da668แผนปฏิบัติราชการระยะ3ปีพ.ศ.2563-2565.pdf.

กรมส่งเสริมเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคคนพิการ. (2565). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. จาก http://www.dep.go.th/images/uploads/files/depplan66-70.pdf.

กรมส่งเสริมเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคคนพิการ. (2565). สถานการณ์คนพิการ 30 กันยายน 2565 (รายไตรมาส). สืบค้น 3 มีนาคม 2566. จาก https://dep.go.th/th/law-academic/knowledge-base/disabled-person-situation/สถานการณ์คนพิการ-30-กันยายน-2565-รายไตรมาส.

กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ. (2561). มาตรฐานการคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการในสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. จาก http://dep.go.th/uploads/Downloads/a7a33d0c-a9a3-4a71-b020-5632cf3478e1290125633.pdf.

ณปภัช สิงห์เถื่อน, สุปรีดา มั่นคง และ ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2561). กิจกรรมการดูแล แรงจูงใจในการดูแล และความพึงพอใจในงานของผู้ดูแลที่ได้รับการว่าจ้างในการดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 99-113

ธนิตา กำจิตเอก. (2562). ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2566). รวมเงินทุกกองทุนสำหรับคนแก่ หลังเกษียณ ใช้เงินจากที่ไหนได้บ้าง. สืบค้น 11 มิถุนายน 2566. จาก https://www.prachachat.net/general/news-1252227.

เพ็ญนภา วิทยานันตนารมย์. (2565). คุณภาพชีวิตการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สำนักงานใหญ่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วิรัช สงวนวงศ์วาน และ ณัฐณิชา ปิยปัญญา. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์), 3(2), 77-90.

ศิริจรรยา จรรยาธรรม, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, มธุรส ทิพยมงคลกุล และ ณัฐนารี เอมยงค์. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง. วารสารแพทย์นาวี, 45(1), 52-65.

อทิตยา เล็กประทุม และ เฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 174-217.

Al-Maskari, M. A., Dupo, J. U., & Al-Sulaimi, N. K. (2020). Quality of work life among nurses: A case study from Ad Dakhiliyah Governorate, Oman. Sultan Qaboos University Medical Journal, 20(4), e304–e311.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21