รูปแบบการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบริษัทรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพ, ประสิทธิภาพ, เทคโนโลยีดิจิทัล, บริษัทรักษาความปลอดภัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาศักยภาพบริษัทรักษาความปลอดภัยยุคดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ (2) ศึกษาวิเคราะห์วิธีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัลและการฝึกอบรมเทคโนโลยีสารสนเทศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 35 ท่าน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แบ่งเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการในสาขาความปลอดภัย ผู้บริหารและผู้จัดการในบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัย และบุคลากรที่ทำงานในบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัย วิเคราะห์ข้อมูลจะใช้วิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics), และ Internet of Things (IoT) มาใช้ในการให้บริการรักษาความปลอดภัย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้บริษัทสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อนและตรวจจับพฤติกรรมที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ นอกจากนี้ การเชื่อมต่อและควบคุมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยผ่าน IoT ช่วยให้การตรวจสอบและตอบสนองต่อเหตุการณ์เป็นไปอย่างทันทีและมีประสิทธิภาพ และ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ การฝึกอบรมที่มีคุณภาพและการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรช่วยให้บุคลากรมีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนการเรียนรู้และการแบ่งปันความรู้ในองค์กรช่วยให้บุคลากรสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ การจัดการทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและการสนับสนุนจากผู้บริหารยังเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอีกด้วย จากผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัยในยุคดิจิทัลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
โกสินทร์ ชำนาญพล และ สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย. (2562). การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 30-138.
ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์. (2566). การบริหารการพัฒนาเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ProTexts.
นวพล แก้วสุวรรณ, ธัญญาลักษณ์ ใจเที่ยง และ สิริกร บำรุงกิจ. (2563). การจัดการความรู้ เพื่อก้าวสู่องค์กรดิจิทัลในยุคเทคโนโลยีพลิกผัน. วารสารศิลปากร, 40(4), 120-135.
บุญทัน ดอกไธสง. (2563). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญเรือน ทองทิพย์ และ วัชรบุตร กุลบุตร. (2563). การจัดการการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์ของ RANGER SECURITY GUARD INVESTIGATION CO., LTD. วารสาร มจร นาครทรรค์, 7(11), 342–356.
ปรินทร พลรัฐธนาสิทธิ์ และ นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2563). การเมืองในการกำหนดนโยบายธุรกิจรักษาความปลอดภัย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 10(3), 65-76.
พรวรรณ นันทแพศย์. (2566). อิทธิพลของคุณลักษณะบุคลิกภาพ การยอมรับเทคโนโลยี พฤติกรรมการลงทุน ที่มีต่อการตัดสินใจลงทุนสกุลเงินดิจิทัล. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 1-9.
วันเฉลิม แสงสว่าง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารความสัมพันธ์ของพนักงาน รักษาความปลอดภัยในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีของบริษัท มิตรสยามรักษาความปลอดภัย จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 5(1), 10-22.
อนุชิต นาคกล่อม, เอกกมล บุญยะผลานันท์ และ พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีไอโอทีอาศัยรูปแบบการเชื่อมโยงองค์ความรู้มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24(3), 303-314.
Birdi, K. S., Patterson, M. G., & Wood, S. J. (2007). Learning to perform? A comparison of learning practices and organisational performance in profit and non-profit-making sectors in the UK. International Journal of Training and Development, 11(4), 265–281.
Blume, B. D., Ford, J. K., Baldwin, T. T., & Huang, J. L. (2010). Transfer of training: A meta-analytic review. Journal of Management, 36(4), 1065–1105.
Creswell, J. W., & Poth, C. N. (2017). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five approaches. (4th ed.). California: SAGE Publications, Inc.
Gashi, A., Pugh, G., & Adnett, N. (2010). Technological change and employer‐provided training: evidence from UK workplaces. International Journal of Manpower, 31(4), 426-448.
Gupta, K., Bhaskar, P., & Singh, S. (2017). Prioritization of factors influencing employee adoption of e-government using the analytic hierarchy process. Journal of Systems and Information Technology, 19(1/2), 116-137.
Hajjar, S., & Alkhanaizi, M. (2018). Exploring the factors that affect employee training effectiveness: a case study in Bahrain. SAGE Open, 8(2), 1-10.
Hidayat, A., & Aziz, M. (2022). The role of job training in improving employee performance. Adpebi International Journal of Multidisciplinary Sciences, 1(1), 21-30.
Hughes, C., Robert, L., Frady, K., & Arroyos, A. (2019). Managing technology and middle-and low-skilled employees: Advances for economic regeneration. Leeds: Emerald Publishing Limited.
Imran, M., Maqbool, N., & Shafique, H. (2014). Impact of technological advancement on employee performance in banking sector. International Journal of Human Resource Studies, 4(1), 57-65.
Jalil, R., Perizade, P., & Widiyanti, H. (2019). Effect of training and work discipline on employee performance at PT PLN (Persero). International Journal of Management and Humanities, 3(11), 37-42.
Javaid, M., Khan, S., Haleem, A., & Rab, S. (2022). Adoption of modern technologies for implementing industry 4.0: an integrated MCDM approach. Benchmarking: An International Journal, 30(10), 3753-3790.
Jumanne, A., & Njoroge, J. (2019). Technological change management and performance of employees of the parliamentary service commission in Kenya. American Journal of Public Policy and Administration, 4(1), 18-30.
Kim, J., & Park, C. Y. (2020). Education, skill training, and lifelong learning in the era of technological revolution: A review. Asian-Pacific Economic Literature, 34(2), 3-19.
Miles, M. B., Huberman, A. M., & Saldaña, J. (2014). Qualitative data analysis: A methods sourcebook. (3rd ed.). California: SAGE Publications, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.