ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธรภาค 1
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพ, ข้าราชการตำรวจ, ระดับความรู้บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้ของข้าราชการรตำรวจ (2) ศึกษาระดับความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจ (3) เปรียบเทียบความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการ อำนวยการภูธรภาค 1 จำนวนทั้งสิ้น 119 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติการทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการ อำนวยการภูธรภาค 1 มีความคิดเห็นต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจอยู่ในระดับมาก จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจจัดหาแรงงานไทยไปต่างประเทศที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุราชการ ระดับชั้นยศ และสถานภาพที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านอายุ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 ไม่แตกต่างกัน และปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการ อำนวยการตำรวจภูธร ภาค 1 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กองอัตรากำลัง สำนักงานกำลังพล. (2565). งานกำลังพล ประจำปี 2565. สืบค้น 2 ธันวาคม 2566. จาก https://pdd.police.go.th/index.html.
นันท์นลิน เทพคง. (2563). อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อการคงอยู่ในงานของข้าราชการตำรวจกองทะเบียนพล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ภควันต์ ขันติพิทักษ์กุล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย).
ราชกิจจานุเบกษา. (2541). พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักพระราชวัง พ.ศ.2541. สืบค้น 2 ธันวาคม 2566. จาก https://hdl.handle.net/20.500.14156/34065.
สมยศ ปัญญามาก. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 3(2), 98-113.
สำนักงานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติ. (2564). พันธกิจ Mission. สืบค้น 2 ธันวาคม 2566. จาก https://opc.police.go.th/OPC_Police/พันธกิจ/.
สุวรรณา คุณดิลกณัฐวสา. (2562). เจตคติต่อระบบคุณธรรมและระบบอุปถัมภ์ที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์, 5(1), 68-78.
อนุกูล ศึกหาญ. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการเรือนจำคลองเปรม. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก).
อุษณีย์ ปานนาค. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการตำรวจภูธรภาค 9. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Yamane, T. (1987). Statistic: An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.