ส่วนประสมการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง

ผู้แต่ง

  • ศุภิสรา ว่องอัครัชสกุล นิสิตปริญญาโท สาขาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเทศไทย
  • สันติธร ภูริภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาการจัดการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

งานประเพณีสงกรานต์พระประแดง, กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4Es, คุณภาพการบริการ, เทศกาลท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาด 4Es ที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง (2) เพื่อศึกษาคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.9 มีอายุระหว่าง 18 – 26 ปี ร้อยละ 50 ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 70.6 ประกอบอาชีพ นักเรียนหรือนักศึกษา ร้อยละ 34.9 มีรายได้หรือรายรับต่อเดือนอยู่ที่ 15,001 – 25,000 บาท และอาศัยอยู่ในอำเภอเมืองสมุทรปราการ ร้อยละ 39.8 ส่วนประสมการตลาด 4Es มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ร้อยละ 55.4 โดยด้านการสร้างความสัมพันธ์มีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมาด้านความคุ้มค่า การสร้างประสบการณ์ และด้านการเข้าถึงผู้บริโภค ตามลำดับ คุณภาพการบริการ ประกอบด้วย ความเอาใจใส่ และความน่าเชื่อถือ มีอิทธิพลในการเข้าร่วมงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ร้อยละ 42.7

References

กระทรวงการต่างประเทศ. (2566). สงกรานต์ในประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ขององค์การยูเนสโก. สืบค้น 25 มกราคม 2567. จาก https://www.mfa.go.th/th/content/songkran-ich?cate=5d5bcb4e15e39c306000683d.

รัฐบาลไทย. (2567). เสริมศักดิ์ จับมือจังหวัดสมุทรปราการส่งท้ายงานมหาสงกรานต์ 267 ยิ่งใหญ่งดงาม มุ่งเน้นสืบสานประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยรามัญอนุรักษ์ต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2567. จาก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/82090.

วรรณพร ผาสุก, ธนภณ นิธิเชาวกุล และ กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่. (2565). การตลาดเชิงประสบการณ์ที่ส่งผลต่อการกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในเขตพื้นที่เมืองพัทยาของกลุ่มนักท่องเที่ยวไทย. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 18(1), 82-94.

สรรเกียรติ กุลเจริญ, ภุชงค์ เสนานุช และ ศักดินา บุญเปี่ยม. (2558). การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมท้องถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก. วิชาการ, 19(37), 117-128.

สำนักงานเทศกาลสมุทรปราการ. (2566). แนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมเนื่องในวันประเพณีสงกรานต์พุทธศักราช 2566 สืบสานสงกรานต์วิถีไทย ร่วมสานใจสู่สากล. สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://www.samutprakancity.go.th/news/view/xdqV0g19WXap/.

สำนักงานสถิติจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). จำนวนประชากรและครัวเรือน ณ เดือนธันวาคม 2565. สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://url.in.th/MnzFu.

Berry, L. L., Zeithaml, V. A., & Parasuraman, A. N. A. N. T. H. A. N. A. R. A. Y. A. N. A. N. (1985). Quality counts in services, too. Business horizons, 28(3), 44-52.

Fetherstonhaugh, B. 2009. The 4P’s Are Out, the 4E’s Are In. New York: Ogilvy & Mather.

Konhäusner, P., Shang, B., & Dabija, D. C. (2021). Application of the 4Es in online crowdfunding platforms: a comparative perspective of Germany and China. Journal of Risk and Financial Management, 14(2), 49.

Kotler, P. and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. (14th ed). UK: Pearson Prentice Hall.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McCarthy. (1970). หลักการตลาดยุคใหม่ จาก 4P’s สู่ 4E’s. สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://url.in.th/GsaOm.

Millet, J. D. (2012). Management in the publics service: The quest for effective performance. New York: McGraw-Hill Book Company.

Thai PBS. (2560). คุมเข้มสงกรานต์พระประแดง แก้ไขภาพลักษณ์ด้านลบ. สืบค้น 20 เมษายน 2567. จาก https://www.thaipbs.or.th/news/clip/40107.

Thai PBS. (2567). “สงกรานต์ 5 วัน” นักท่องเที่ยวทะลัก 7.8 แสนคน ททท.เผย สร้างรายได้กว่า 2.8 พันล้าน. สืบค้น 20 เมษายน 2567. จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/339091.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21