ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในการเข้าชมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นพมาศ ยศเรศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • สันติธร ภูริภักดี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความผูกพัน, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 8P’s, การตลาดเชิงประสบการณ์, เทศกาลดนตรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P’s) ที่ส่งผลต่อความผูกพันของการเข้าชมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของการเข้าชมงานเทศกาลดนตรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่เคยเข้าร่วมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย และมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ประกอบไปด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิง โดยใช้สถิติ Multiple Regression Analysis หรือการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (8P’s) ส่งผลต่อความผูกพันของการเข้าชมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ร้อยละ ได้ร้อยละ 44.8 โดย ด้านผลิตภัณฑ์ส่งผลมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ และด้านผลิตภาพและคุณภาพ ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่ไม่ส่งผลต่อความผูกพันของการเข้าชมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย มี 5 ตัวแปร ได้แก่ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร และด้านลักษณะทางกายภาพ 2) ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของการเข้าชมงานเทศกาลดนตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ร้อยละ 54.1 โดยประสบการณ์เชิงอารมณ์ส่งผลมากที่สุด รองลงมาคือ ประสบการณ์ด้านบริการ และประการณ์ด้านกายภาพ ตามลำดับ

References

ชาคริต รถทอง (2564). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเข้าชมงานเทศกาลดนตรี EDM. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

ไทยพับลิก้า. (2558). PWC ชี้โฆษณาออนไลนไทยสุดฮอต คาดปี 2562 มีมูลค่าตลาด 2 พันล้านบาท โตกว่า 90% แนะสื่อปรับเนื้อหาสั้น กระชับ เข้าใจง่าย. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. จาก https://thaipublica.org/2015/06/pwc-global-entertainment-media-outlook/.

ปฏิพรรณ ยุติธรรมสถิต (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของผู้บริโภคในอีเวนต์เสมือนจริง. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

วรรัตน์ จันทร์เจริญ (2560). การออกแบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนาเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่. (ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2561). Creative Industry Database: Music. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. จาก https://www.cea.or.th/th/single-statistic/creative-industry-database-music.

สุพศิน รัตนภราดร (2562). พฤติกรรมการเข้าชมคอนเสิร์ตของเจนเนอเรชั่นวายในประเทศไทย. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ (2562). อิทธิพลของแรงจูงใจที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์การท่องเที่ยวเชิงกีฬาจังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา อีเวนต์มาราธอน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(106), 236-250.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley and Sons.

Digimusketeers. (2564). 7Ps Marketing Mix กลยุทธ์ใหม่พิชิตใจผู้บริโภคในยุคโควิด. สืบค้น 21 มิถุนายน 2567. จาก https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/7ps-marketing-mix.

McCutcheon, L. E., Lange, R., & Houran, J. (2002). Conceptualization and measurement of celebrity worship. British journal of psychology, 93(1), 67-87.

Pearce. (1988). ขั้นบันไดแห่งการเดินทาง. สืบค้น 21 มิถุนายน 2567. จาก https://fund.pkru.ac.th/storage/download/5c762c9308813b000161726c?sector=files2019&bucket=publish_paper&ver=0&sk=5b8d1617d035c4649e2fdd81163736e3.

Phadungkan, S. (2566). สมมง! ‘ไทยแลนด์แดนคอนเสิร์ต’ ศิลปินตบเท้าเข้าไทยคึกคัก หาคำตอบ ‘คอนเสิร์ต’ สะท้อนเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่?. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566. จาก https://www.marketingoops.com/reports/concert-in-thailand/.

Sarmento, M., & Simoes, C. (2019). Trade fairs as engagement platforms: the interplay between physical and virtual touch points. European Journal of Marketing, 53(9), 1782-1807.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

ยศเรศ น., & ภูริภักดี ส. (2024). ประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในการเข้าชมงานเทศกาลดนตรีในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 129–138. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275102