ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบ Staycation หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณิชาภัทร สุภัคพานิชย์กุล เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ปิยะพรรณ ช่างวัฒนชัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวแบบ Staycation, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะทั่วไปของปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการท่องเที่ยว และระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของผู้ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและส่วนประสมทางการตลาดของผู้ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการท่องเที่ยวแบบ Staycation กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ ผู้ที่อาศัยหรือทำงานในเขตกรุงเทพฯ ที่เคยมีประสบการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศ และมีการวางแผนท่องเที่ยวภายในประเทศในช่วงหนึ่งปี จำนวน 400 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุตั้งแต่ 20 - 39 ปี มีสถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือนอยู่ระหว่าง 15,000 - 30,000 บาท และกลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับด้านกระบวนการให้บริการมากที่สุด โดยเฉพาะด้านการชำระเงินค่าบริการที่สะดวก น่าเชื่อถือ และปลอดภัย (2) ผลการวิเคราะห์แบบจำลองโลจิต พบว่า ผู้ที่มีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพรับข้าราชการ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะตัดสินใจเที่ยวแบบ Staycation ในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่การศึกษาระดับปริญญาโทหรือสูงกว่า และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะตัดสินใจเที่ยวแบบ Staycation ในทิศทางตรงกันข้าม

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.mots.go.th/news/category/618.

กัลยา เมืองจันทร์. (2562). ปัจจัยอิทธิพลที่มีต่อการเดินทางมาท่องเที่ยวสวนจตุจักร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

จิตแข เทพชาตรี. (2563). New Normal ไลฟ์สไตล์ใหม่ บนโลกใบเดิม. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/new-normal-%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.

ชฎาภรณ์ ชนาประดิษฐ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวในประเทศไทย กรณีศึกษาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5). (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ญาณิพัชญ์ อาภรณ์แสงวิจิตร. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวของสตรี. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฐพล ขำเขียว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวหาดทรายแก้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ธีรชยา พิมพ์กิติเดช. (2563). Staycation คืออะไร เทรนด์ใหม่ในปี 2021. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.kaidee.com/blog/th/what-is-staycation/.

นัทนิชา โชติพิทยานนท์. (2564). การจัดการตลาด (Online). สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://elcpg.ssru.ac.th/natnicha_ha/pluginfile.php/26/block_html/content/MPP%205607%20%28part%203%29%201_64.pdf.

ปราณ สุวรรณทัศน์. (2563). เปิดกลยุทธ์โรงแรมไทยในวันที่ไม่มีแขกชาวต่างชาติ ต้องลด แลก แจก แถม ดึงคนไทยใช้บริการ. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://brandinside.asia/hotel-in-bangkok-strategy-discount-price-for-thai-people/.

ปานใจ ปิ่นจินดา. (2561). STAYCATION พักร้อน นอนใกล้บ้าน. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/760.

พันธุ์ทิพา หอมทิพย์. (2565). โควิด-19 บนเส้นทางเปลี่ยนผ่านสู่ “โรคประจำถิ่น”. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/san/Covid19.pdf.

ภาสกรณ์ อักกะโชติกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภทโรงแรมรายวันของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศิริลักษณ์ สันทราย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นในจังหวัดเชียงใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2547). หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 1504/ว 38 เรื่อง การพิจารณาปรับปรุงจำนวนวันหยุดราชการ. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2020/01/v38_47.pdf.

Cochran, W. G. (1997). Sampling Techniques. (3th ed). New York: John Wiley and Sons Inc.

Google. (2023). Google Trend. Retrieved 29 April 2023. from https://trends.google.co.th/trends/explore?q=staycation&date=now%201-d&geo=TH&hl=th.

Hungryhub. (2021). Staycation คืออะไร ? เทรนด์เที่ยวแบบใหม่ที่กำลังมาแรงในปี 2564. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://blog.hungryhub.com/staycation%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/.

Jacobsen, J. K. S., Farstad, E., Higham, J., Hopkins, D., & Landa-Mata, I. (2023). Travel discontinuities, enforced holidaying-at-home and alternative leisure travel futures after COVID-19. Tourism Geographies, 25(2-3), 615-633.

Kotler P. (2012). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

สุภัคพานิชย์กุล ณ., & ช่างวัฒนชัย ป. (2024). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแบบ Staycation หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษาผู้ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 179–192. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275185