ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
แบบจำลองเพชร, ความสามารถในการแข่งขัน, วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการความสามารถในการแข่งขัน โดยวัดจากความสามารถในการทำกำไรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้มีความหลากหลายในขนาดและอายุของกิจการ โดยกิจการส่วนใหญ่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และมีอายุกิจการเฉลี่ยประมาณ 16 ปี การวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินศักยภาพในการแข่งขันของกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ โดยวัดจากเกณฑ์การให้คะแนนระดับศักยภาพ พบว่า กิจการส่วนใหญ่มีระดับศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยมีจำนวน 112 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 29.32 รองลงมา คือ ระดับศักยภาพในการแข่งขันค่อนข้างต่ำ โดยมีจำนวน 108 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 28.27 ระดับศักยภาพในการแข่งขันต่ำ โดยมีจำนวน 90 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 23.56 ระดับศักยภาพในการแข่งขันปานกลาง โดยมีจำนวน 52 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 13.61 และระดับศักยภาพในการแข่งขันสูง โดยมีจำนวน 20 กิจการ คิดเป็นร้อยละ 5.24 ปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการเติบโตของกำไรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้ ได้แก่ ปัจจัยด้านอุปสงค์และความต้องการซื้อของลูกค้า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความต้องการของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถกระตุ้นอัตราการเติบโตของกำไรและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตัวแปรปัจจัยด้านอุปสงค์และความต้องการซื้อของลูกค้ามีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
ธนาคารพัฒนาเอเชียและประเทศไทย (ADB). (2558). SME ในเอเชียต้องการเงินทุนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.adb.org/th/news/asia-s-smes-need-growth-capital-become-more-competitive-adb-report.
เยาวภา ปฐมศิริกุล. 2556. กลยุทธ์การบริหารจัดการความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP จังหวัดปทุมธานี ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 14(2557), 52-74.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). โครงการพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจ รากฐานไทยในยุคหลังโควิด 19 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11959.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565ก). สรุปผลการศึกษา SMEs ประเทศไทย: บทบาทเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565ข.). จำนวนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2555-2565. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://data.go.th/dataset/https-sme-go-th-th-page-php-modulekey-348.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565ค.). บทวิเคราะห์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SME ประจำปี 2565. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20230512081731.
Dirisu, J. I., Iyiola, O., & Ibidunni, O. S. (2013). Product differentiation: A tool of competitive advantage and optimal organizational performance (A study of Unilever Nigeria PLC). European Scientific Journal, 9(34), 258-281.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.