การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
กิจกรรมท่องเที่ยว, ท่องเที่ยวยั่งยืน, ท่องเที่ยวชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน (2) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน ในตำบลตะกรบ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจเชิงพื้นที่ และการสัมภาษณ์ จากผู้ที่ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้นำชุมชน ประชาชนที่อยู่ในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวของชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการท่องเที่ยวในชุมชนเพื่อให้ได้ ข้อมูลมาศึกษาและทำการวิเคราะห์ โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ใช้การอภิปรายกลุ่มจำนวน 30 คน การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จากกลุ่มประชากรตัวอย่างของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เคยท่องเที่ยวในชุมชนตำบลตะกรบ จำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test ผลการศึกษาพบว่า 1) ศักยภาพพื้นที่และคนในชุมชนสามารถจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวชุมชนแบบครึ่งวันได้ (Half day trip) 2) ศักยภาพการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวด้านการจัดการการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด เนื่องจากการเดินทางเข้าพื้นที่ค่อนข้างซับซ้อน ไม่มีป้ายนำทาง ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อการจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นต่อการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน มีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยนักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน
References
กชธมน วงศ์คำ และ เวธกา มณีเนตร. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(4), 1439-1451.
กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.
กฤษณะ เนียมหอม และ กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 350-363.
ธนพล จันทร์เรืองฤทธิ์. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนริมน้ำจันทบูร อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ศิรินันทน์ พงษ์นิรันดร, โอชัญญา บัวธรรม และ ชัชชญา ยอดสุวรรณ. (2559). แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยว อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข, 9(1), 234-259.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไชยา. (2559). วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ. สืบค้น 4 สิงหาคม 2565. จาก https://district.cdd.go.th/chaiya/about-us/vision/.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: สามลดา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.