ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือนกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย วงศ์สาคร นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ธนา สมพรเสริม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปริมาณเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงกับปริมาณเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือน ศึกษาด้วยวิธี การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลภาพระยะยาว แบบ Engle and Granger,การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น และ การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล โดยใช้อนุกรมเวลา รายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2566 จำนวน 44 ตัวอย่าง การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลภาพระยะยาว ระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งแทนด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง กับ ปริมาณเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือนภาพรวม และจำแนกอีก 6 วัตถุประสงค์ได้แก่ เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อซื้อหรือเช่าซื้อจักรยานยนต์ เพื่อการศึกษา เพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น เพื่อประกอบอาชีพ และวัตถุประสงค์อื่น ๆ (ประกอบไปด้วยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์และเงินให้กู้ยืมที่ไม่สามารถจำแนกวัตถุประสงค์ได้) ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรที่ทำการศึกษาข้างต้นมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้นและระยะยาว ยกเว้นปริมาณเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผลการทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล พบว่า มีเพียงปริมาณเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ (REP) เป็นสาเหตุของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในทิศทางเดียว ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศกับปริมาณเงินให้กู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลอื่น (OPC) เป็นสาเหตุของกันและกันหรือมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลแบบ 2 ทิศทาง และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นสาเหตุของปริมาณเงินให้กู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพ (OB)

References

โกมล เมฆวัฒนา. (2559). ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวระหว่างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณิชา สุทธิกุล. (2553). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย. (เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). ทำความรู้จัก "หนี้ดี" เป็นหนี้ได้ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/loan/borrowing/good-dep.

ธัญชนิต อุบลศรี. (2563). ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างหนี้ครัวเรือนไทยกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ. (เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด. (2566). หนี้ดีก่อให้เกิดรายได้อย่างไร แบบไหนคือหนี้ที่ดี. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.ncb.co.th/fin-knowledge/debt-makes-money.

เพ็ญสุรางค์ วันทอง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาของแรงงานกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

รชต ตั้งนรารัชชกิจ และ พิรญาณ์ รณภาพ. (2565). หนี้ครัวเรือน : ปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้. สืบค้น 29 เมษายน 2566. จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650157TheknowledgeHouseholdDebt.aspx.

วนัสนันท์ งวดชัย. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเจริญเติบโตของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจไทยและวิกฤติซับไพรม์ของสหรัฐอเมริกา. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

อนพัทย์ หนองคู. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ประจำปี 2556 (น. 1-13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Jan Černohorský, J. (2017). Types of bank loans and their impact on economic development: a case study of the Czech Republic. Retrieved 2 May 2023. from https://dx.doi.org/10.15240/tul/001/2017-4-003.

Škare, M., Sinković, D., & Porada-Rochoń, M. (2019). Measuring credit structure impact on economic growth in Croatia using (VECM) 1990-2018. Journal of Business Economics and Management, 20(2), 294-310.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

How to Cite

วงศ์สาคร ว., & สมพรเสริม ธ. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินให้กู้ยืมภาคครัวเรือนกับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 6(4), 25–36. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JSSP/article/view/275233