ปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น
คำสำคัญ:
แป้งมันสำปะหลัง, ปริมาณการส่งออก, ประเทศไทย, ประเทศญี่ปุ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลรายปี ระหว่าง พ.ศ. 2531 – 2565 ใช้แบบจำลองการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ทำการทดสอบข้อมูลโดยการทดสอบความนิ่งของข้อมูล การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวและการทดสอบสมมติฐานความเป็นเหตุเป็นผล ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย จำนวนครัวเรือนที่ทำการเพาะปลูก เนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังของประเทศไทย ผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตเฉลี่ยต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังของประเทศไทย อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศญี่ปุ่น ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทย ราคามันสำปะหลังที่เกษตรกรขายได้ ปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังไปประเทศจีนและปริมาณน้ำฝน มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวกับปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น และในการทดสอบสมมติฐานความเป็นเหตุเป็นผล พบว่า ผลิตภาพแรงงานของไทยและปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปประเทศจีนเป็นสาเหตุของปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากผลิตภาพแรงงานของไทยที่สูงขึ้นทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้ ทำให้ปริมาณการส่งออกแป้งมันสำปะหลังของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เมื่อประเทศไทยส่งออกแป้งมันสำปะหลังไปยังประเทศจีนเป็นจำนวนมาก ทรัพยากรในการผลิตหรือแป้งมันสำปะหลังที่เหลือสำหรับการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นอาจมีปริมาณลดลง
References
กรมการค้าต่างประเทศ. (2566). สถิติการส่งออกแป้งมันสำปะหลัง. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.dft.go.th/th-th/dft-service-data-statistic/cid/609.
กระทรวงแรงงาน. (2566). สถิติแรงงานประจำปี. สืบค้น 29 กันยายน 2566 จาก https://www.mol.go.th/academician/reportstatic_labour.
กฤษณะ อติเปรมานนท์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อดุลยภาพการส่งออกมันสำปะหลังไทยไปประเทศจีน. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).
แกมกาญจน์ เหลืองวิรุจน์กุล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของประเทศไทยไปยังประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
โชติมา โชติกเสถียร. (2562). การพัฒนาศักยภาพการส่งออกกุ้งแปรรูปของไทยสู่กลุ่มประเทศเอเชียใต้. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(1), 59-72.
ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับสินค้า OTOP. (2566). มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2566. จาก http://otop.dss.go.th/index.php/en/knowledge/informationrepack/339-tapioca-and-products?showall=&limitstart=.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร (ปี พ.ศ. 2524-2538). สืบค้น 25 กันยายน 2566. จาก https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=121&language=TH.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2566). อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมหานคร (ปี พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน). สืบค้น 22 กันยายน 2566. จาก https://app.bot.or.th/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=123 &language=TH.
มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย. (2566). อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://tapiocathai.org/E4.html.
รชฏ ขำบุญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกข้าวของประเทศไทยไปประเทศจีนในช่วงปี พ.ศ. 2550 ถึง ปี พ.ศ. 2560. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2566). รายงานพืชเศรษฐกิจมันสำปะหลัง. สืบค้น 5 กันยายน 2566. จาก https://www.nettathai.org/2012-01-18-08-23-58.html.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2562). ข้อมูลตลาดส่งออกสำคัญตามโครงสร้างสินค้ากระทรวงพาณิชย์. สืบค้น 15 พฤษภาคม 2566. จาก https://data.moc.go.th/OpenData/ExportCommodityCountries.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2566). ตลาดส่งออกสำคัญของไทยรายสินค้า. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2566. จาก https://tradereport.moc.go.th/th.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). สถิติการเกษตรของประเทศไทย. สืบค้น 13 กันยายน 2566. จาก https://www.opsmoac.go.th/ubonratchathani-dwl-files-451491791923.
สุภัชชา ปานพรหม. (2561). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปของประเทศไทยไปยังประเทศญี่ปุ่น. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).
Bojnec, S., & Fertő, I. (2014). Agri-food exports from European Union Member States using constant market share analysis. Studies in Agricultural Economics, 116(2), 82-86.
Hydro Informatics Institute. (2565). รายงานสถานการณ์น้ำประเทศไทย ปี 2565. สืบค้น 30 ตุลาคม 2566.จาก https://www.thaiwater.net/uploads/contents/current/YearlyReport2022/rain2.html.
Liu, C., Xu, J., & Zhang, H. (2020). Competitiveness or complementarity? A dynamic network analysis of international agri-trade along the Belt and Road. Applied Spatial Analysis and Policy, 13, 349-374.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.